วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมันแบบถ่ายเสียง
            ในการเรียนภาษาอังกฤษนั้นสิ่งที่เราจำเป็นต้องเรียนรู้อีกอย่างหนึ่งคือ การถอดอักษรภาษาอังกฤษให้เป็นภาษาไทยซึ่งในการถอดอักษรไปจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งนั้นสิ่งที่จำเป็นต้องศึกษาคือ หลักเกณฑ์ของการถอดอดอักษรจากภาษาหนึ่งไปอีกภาษาหนึ่งนั่นเอง ซึ่งในครั้งนี้เราจะศึกษาเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน
                หลักเกณฑ์การถอดอักษรไทยเป็นอักษรโรมัน เป็นวิธีถ่ายเสียง เพื่อให้อ่านคำภาษาไทยที่เขียนด้วยอักษรโรมันให้ได้เสียงใกล้เคียงที่สุด โดยไม่คำนึงถึงการสะกดการันต์และวรรณยุกต์ ซึ่งในการถอดตัวอักษรนั้น เราจะแยกระหว่างสระและพยัญชนะ ตัวอย่างเช่น พยัญชนะ ก แทนด้วย k  เช่น กา = ka,นก = nok  
พยัญชนะ ง  แทนด้วย ng  เช่น งาม = ngam ,สงฆ์ = song  และสระ เช่น อะ , อัว แทนด้วย a เช่น ปะ = pa วัน = wan  สระ อำ  แทนด้วย am   เช่น รำ = ram   สระ โอะ  แทนด้วย o   เช่น โละ = lo เป็นต้น
                ความหมายของคำ สามารถทีจะแยกประเภทได้ดังนี้ หน่วยคำ หมายถึงหน่วยที่เล็กทีสุดและมีความหมาย อาจมีเพียงความพยางค์เดียวหรือหลายพยางค์ก็ได้ คำ หมายถึง หน่วยคำ 1 หน่วย หรือมากกว่านั้น  คำประสม หมายถึง หน่วยคำตั้งแต่สองหน่วยคำขึ้นไปเมื่อรวมกันแล้ว มีความหมายใหม่หรือมีความหมายเพิ่มขึ้นจากเดิม คำสามานยนาม ได้แก่ คำนามทั่วไป ชื่อภูมิศาสตร์ คือ คำนามทั่วไปที่บอกลักษณธภูมิประเทศตามธรรมชาติ
                คำวิสามานยนาม หมายถึง คำนามที่เป็นชื่อเฉพาะ ได้แก่ ชื่อบุคคล ชื่อสถานที่และองค์กร คำนำหน้านาม หมายถึง คำที่อยู่หน้าสามานยนาม เช่น พระอิสริยยศ ฐานันดรศักดิ์ คำทัพศัพท์ หมายถึง คำภาษาต่างประเทศที่เขียนตัวอักษรไทย อาจเป็นนคำสามานยนาม เช่น คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยี เป็นต้น  การถอดตัวเลข ให้ถอดตามหลักการอ่านอักขรวิธีไทย โดยเขียนอักษรโรมันเต็มตามเสียงที่อ่านในภาษาไทย เช่น ห้านาฬิกา = ha nalika , หนึ่งต่ออง nueng to song เป็นต้น

                ซึ่งจะเห็นได้ว่าการอดอักษรโรมันนั้นเราต้องการเทียบเสียงอักษรต่างๆทั้งสระและพยัญชนะเพื่อเทียบนั้นๆให้ใกล้เคียงมากที่สุด และการถอดอักษรโรมันนั้นเราสามารถที่จะถอดอักษรได้ ในลักษณะต่างๆ การถอดเสียงของความหมายของคำ  ตั้งแต่ หน่วยคำ ,คำ , คำประสม, คำสามนยนาม , คำวิสามานยนาม, คำนำหน้านาม, คำทับศัพท์และสุดท้ายคือการถอดตัวเลข วึ่งเราต้องมีความรู้และความเข้าใจในเรื่องการถอดตัวอักษรเราจึงจะสามารถถอดเสียงตัวอักษรให้ใกล้เคียงกับคำนั้นๆมากที่สุดและถูกต้อง

หลักการแปลวรรณกรรม
                ถ้าพูดถึงเรื่องงานแปลแล้วการแปลนั้นประกอบด้วยกันประเภทต่างๆมากมายหลายประเภท ซึ่งมนการแปลนั้นเรามีหลักการต่างๆที่เราจำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่องนั้นๆด้วย เช่นในการแปลวรรณกรรมเราก็ต้องศึกษาเรื่องราวหลักการของการแปลวรรณกรรมว่าเราต้องดำเนินการแปลเรื่องราวนั้นๆอย่างไรถึงจะแปลเรื่องราวต่างๆได้อย่างถูกต้อง
                วรรณกรรม หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง ไม่ว่าจะเป็นผลงานของกวีโบราณหรือกวีคนปัจจุบัน ซึ่งคงจะรวมถึงสิ่งที่เราเรียกว่า วรรณคดี ตามปกติวรรณกรรมเป็นงานเขียนที่จัดไว้ในประเภท บันเทิงคดี  ในการแปลงานแปลที่เลือกมาศึกษาคือการแปล   นวนิยาย เรื่องสั้น นิทาน นิยาย บทละคร การ์ตูน บทภาพยนตร์ บทเพลง เป็นวรรณกรรมประเภทบันเทิงคดี ซึ่งวรรณกรรมเหล่านี้มุ่งหวังให้ผู้อ่านได้รับความบันเทิงสนุกสนาน
                ในการแปลเรื่องต่างๆสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องคงไว้คือ ความหมายเดิมไว้ให้ครบถ้วนถูกต้องไม่แปรเปลี่ยนรวมทั้งการรักษารสของความหมายเดิมไว้ด้วยเช่นกัน เช่น รสรัก เศร้าโศก ขมขื่น เบื่อหน่าย เป็นต้น การรักษาความหมายเดิมนั้นเป็นหัวใจที่สำคัญของการแปลงานบันเทิงคดีรวมทั้งงานแปลอื่นๆด้วยไม่ว่าจะเป็นงานแปลประเภทใดหากเราบทแปลมาแปลแล้วเราก็ต้องรักษาความความคงเดิมของต้นฉบับไว้ให้ได้ดีที่สุด
                หลักการแปลนวนิยาย นวนิยายเป็นงานแปลที่เป็นที่นิยมและแพร่หลายมากกว่าหนังสือบันเทิงประเภทอื่นๆซึ่งผู้แปลนั้นมีความสำคัญเท่าๆกับผู้แต่งเพราะการแปลนวนิยายออกมาดีก็จะนำพาชื่อเสียงมาสู่ผู้แปลด้วยเช่นกัน คุณค่าของวรรณกรรมนั้นอู่ที่ศิลปะในการใช้ภาษาของผู้แปลที่สามารถค้นหาถ้อยคำสำนวนสละสลวยไพเราะสอดคล้องได้อย่างดี หลักที่สำคัญในการแปลนวนิยายสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
                การแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรม ชื่อเรื่องเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับแรก เพราะผู้แต่งนั้นพิถีพิถันในการตั้งมากที่สุด เพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจของผู้อ่าน การแปลชื่อเรื่องนั้นเปรียบเสมือนใบหน้าของคนเรา ดังนั้นการแปลชื่อเรื่องจึงต้องมีความละเอียดด้วย หลักการแปลชื่อเรื่องประกอบด้วยกัน 4 แบบ คือ แบบที่ 1 ไม่แปล ใช้วิธีการทับศัพท์ เช่น   แบบที่ 2 แปลตรงตัว ถ้าชื่อต้นฉบับมีคามสมบูรณ์อยู่แล้วก็สามารถที่จะแปลตรงตัวได้เลย เช่น Spirit Rebelious วิญณาณขบถ  , The  killer  ผู้พิฆาต เป็นต้น แบบที่ 3   แปลบางส่วนตัดบางส่วน จะใช้วิธีนี้เมื่อชื่อในต้นฉบับห้วนเกินไปไม่ดึงดูด และความหมายยังไม่เพียงพอ เช่น Gone with the Wind วิมานลอย , The Junggle ชีวิตเปลี่ยน เป็นต้น
                วรรณกรรมประเภทถัดไปคือ การแปลบทสนทนา การแปลบทสนทนานั้นเป็นสิ่งที่ยุ่งยากมากเพราะมีภาษาที่ต่างระดับกัน ซึ่งบางครั้งในหนึ่งบทสนทนานั้นจะมีทั้ง ภาษาราชาศัพท์ ภาษาสุภาพ ภาษาที่เป็นทางการ ภาษากันเอง เป็นต้น  การแปลบทสนทนานั้นเริ่มตั้งแต่ การแปลคำทักทาย เช่น How do you do? คุณสบายดีไหม , Good morning อรุณสวัสดิ์ เป็นต้น คำอำลา เช่น Good bye ลาก่อน ,God bless you ขอให้พระคุ้มครองคุณ เป็นต้น
 คำแสลง บทสนทนาบางบทจะมีคำแสลงแฝงอยู่ด้วยเสมอ คำแสลงคือคำที่ใช้เฉพาะกลุ่ม ใช้ในวงจำกัด แต่มีบางคำก็นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น die ตาย ,drunk เมา เป็นต้น และสุดท้ายคือ การตัดถ้อยคำให้สั้นลงทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ในภาษาพูดมักจะนิยมตัดภาษาพูดให้สั้นลง เช่น Good morning จะตัดคำว่า Good ออก เหลือแต่ morning เป็นต้น ในการแปลบทสนทนานั้นสิ่งที่คัญที่สุดคือการแปลให้เป็นธรรมชาติ สอดคล้อกับสถานะของผู้พูดและโอกาสแต่ละโอกาส
การแปลบทบรรยาย เป็นข้อความที่เขียนเล่าเหตุการณ์ต่างๆสิ่งที่ยุ่งยากสำหรับการแปลบทบรรยาย คือ มีภาษาสองประเภทที่พบเจอคือ ภาษาในสังคม กับภาษาวรรณคดี ภาษาสังคม เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้ในสังคมแต่ละวันซึ่งภาษาในสังคมนั้นบางครั้งก็มีความคล้าหรืออาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กีบต่ละสภาพสังคมต่างๆ ภาษาถิ่น เป็นสิ่งที่ต้องระวังมากในการแปล ความแตกต่างของภาษาถิ่นได้แก่ การใช้คำ ความหมายของคำ และการเรียงคำ
ภาษาวรรณคดี คือ ภาษาที่ใช้เขียนในวรรณกรรมประเภทต่างๆ เป็นที่ถูกต้องสมบูรณ์ทางไวยากรณ์ และความหมาย มีความไพเราะ ภาษาประเภทนี้ไม่นิยมมาใช้พูดในปัจจุบัน ภาษาระดับนี้คำนึงถึง ลีลาการเขียน ที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้เขียน ตัวอย่างการแปลลีลา ภาษาวรรณกรรม One should know (the sincerity of) a friend in calamities, a warrior in battle, an honest man when in debt, a wife when fortune declines and relatives in difficulties. แปลได้เป็น ในเมื่อวิบัติจะเห็นใจมิตร, ในสมัยศึกประชิดจะเห็นใจทหาร, ในเวลาให้กู้ทรัพยสารจะเห็นใจผู้ซื่อสะอาด, ในยามสมบัติวินาศจะเห็นใจภริยา, ในคราวอนาถาจะเห็นใจญาติ (หิโตปเทศ)  เป็นต้น
ในการแปลวรรณกรรมมีขั้นตอนการแปล ดังนี้ อ่านเรื่องราวให้เข้าใจตลอด และสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องได้ ถัดไปคือ วิเคราะห์ถ้อยคำสำนวน ค้นหาคำศัพท์ที่ไม่เคยรู้จัก และทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมของการเขียน สิ่งสุดท้ายคือ ลงมือแปลเป็นภาษาไทยด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบง่าย อ่านเข้าใจง่าย และชัดเจน โดยเฉพาะการใช้ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
หลักการแปลบทละคร บทละครคือ วรรณกรรมการแสดง ถ้าไม่มีดนตรีเรียกว่า บทละครพูด ถ้ามีดนตรีก็จะเรียกว่า ละครร้อง ละครรำ เป็นต้น บทละครที่กล่าวถึงในการแปลนั้น จะหมายถึงละครโศก ละครชวนขัน ละครโอเปร่าหรืออุปรากร และบทละครที่แสดงบนเวทีการแปลบทละครนั้นปฏิบัติเหมือนการแปลนวนิยาย เรื่องสั้น คือ เริ่มด้วยการอ่านทำความเข้าใจเรื่องหาความหมายและคำแปลแล้วจึงเขียนบทแปลด้วยภาษาที่เหมาะสม
หลักการแปลภาพยนตร์ ภาพยนตร์ที่จะนำมาแปลนั้นถ่ายถอดเป็นบทเขียนก่อน จุดประสงค์ของภาพยนตร์แปล คือ นำบทแปลไปพากย์ หรืออัดเสียงในฟิล์ม ผู้ฟังจะได้ยินเสียงพูดที่เป็นภาษาไทย ถัดไปคือ นำบทแปลไปเขียนในคำบรรยายฟิล์มดั้งเดิม ผู้ฟังจะได้ยินเสียงเดิมของนักแปล และเห็นคำแปลพร้อมกันบทแปลภาพยนตร์เป็นข้อเขียนมีจุดประสงค์นำไปแสดงบทภาพยนตร์มีจุดประสงค์ที่จะนำไปแสดงผู้แปลจะต้องตระหนักในลักษณะเฉพาะของบทแปลภาพยนตร์เพื่อป้องกันไม่ให้มีความผิดพลาดเข้าใจผิดในการแปล
หลักการแปลนิทาน นิยาย วิธีการแปลนั้นดำเนินตามขั้นตอนเดียวกับการแปลวรรณกรรมประเภทอื่นๆ คือ การอ่านต้นฉบับนิทาน ครั้งแรกอ่านเร็วเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องของนิทาน อ่านครั้งต่อไปช้าๆ ค้นหาความหมายและแปล ถัดไปคือ การเขียนบทแปลในการแปลนั้นจะใช้ภาษาระดับกลางในการแปล การแปลเรื่องเล่า วิธีการแปลนั้นดำเนินตามขั้นตอนเดียวกับการแปลวรรณกรรมประเภทอื่นๆ คือ การอ่านต้นฉบับของเรื่อง หลายๆครั้ง และสามารถตอบคำถามได้ว่า ใคร ทำอะไร ถัดไปเป็นการเขียนบทแปล ในการแปลนั้นใช้ภาษาระดับกลาง มีความกำกวม
หลักการแปลการ์ตูน คือ การใช้คำแปลที่สั้นชัดเจนเข้าใจง่ายหรือสื่อความหมายได้สามารถจำกัดจำนวนคำให้อยู่ในกรอบคำพูดได้ ภาษาในบทสนทนาของการ์ตูนมีหลายระดับขึ้นอยู่กับตัวละครที่สร้างขึ้น การแปลนั้นผู้แปลควรระมัดระวังการใช้ภาษาในการแปลให้สอดคล้องกัน วิธีการแปลนั้น ดำเนินได้ตามขั้นตอนการแปลเรื่องสั้นนวนิยาและเรื่องสั้นอื่นๆ
หลักการแปลกวีนิพนธ์ ลักษณะของการแปลกวีนิพนธ์ แปลเป็นร้อยกรอง ผู้แปลส่วนใหญ่เมื่อแปลเนื้อหาสาระแล้วยังรักษาวิธีการนำเสนอที่ใกล้เคียงที่สุดกับต้นฉบับของตนโดยยังคงยึดหลักฉันทลักษณ์ไว้คงเมตามต้นฉบับแปล แปลเป็นร้อยแก้วที่ประณีต การแปลกวีนิพนธ์เป็นร้อยแก้วมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อสารความคิดวัฒนธรรมอื่นๆ ปัญหาที่พบในการแปลวิทยานิพนธ์คือ ความเข้าใจ  และการเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนที่ถูกต้องและเหมาะสม
จะเห็นได้ว่าหลักการแปลวรรณกรรมประเภทต่างๆนั้นจะมีขั้นตอนการแปลที่คล้ายกัน คือ จะต้องอ่านทำความเข้าใจเรื่องนั้นๆอย่างละเอียดและเลือกหาความหมายและคำศัพท์เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับเรื่องราวนั้นๆถัดไปคือการเขียนบทแปลซึ่งบทแปลที่นำมาเขียนต้องแปลให้อ่านง่ายและเข้าใจง่าย ใช้ระดับภาษาที่เหมาะสมกับภาษาต้นฉบับเพื่อเรื่องที่แปลนั้นจะได้สอดคล้องและไม่ผิดเพี่ยนไปจากต้นฉบับ


ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
ในการแปลงานแปลที่ดีนั้นผู้แปลจะต้องแปลให้เป็นภาษาที่เป็นธรรมชาติที่สุดและความหมายในการแปลนั้นจะต้องไม่ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับแปล การแปลงานแปลให้เป็นภาษาไทยที่เป็นธรรมชาตินั้นผู้แปลจะต้องแปลให้ผู้อ่านที่เป็นคนไทยอ่านซึ่งสามารถเข้าใจงานแปลนั้นได้โดยไม่มีข้อข้องใจใดๆ ในการแปลงานแปลนั้น มีองค์ประกอบต่างที่เกี่ยวข้องกับการแปลภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
คำและความหมาย คำบางคำมีความหมายแตกต่างกันอกไปมีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝงหรือความหมายเปรียบเทียบ ซึ่งคำบางคำมีความหมายแตกต่างกันไปตามยุคต่างๆบางครั้งความหมายนั้นก็ตรงกันข้ามหรือบางครั้งก็มีความหมายไปในทางที่ดีและไม่ดี ในการพูดหรือการเขียนความหมายที่แสดงอารมณ์ อาจจะนำคำที่มีความหมายในทางลบมาทำให้เกิดความหมายในทางบวกได้ เช่น ใจดีเป็นบ้า คือใจดีมาก สวยอย่างร้าย คือ สวยมาก เก่งบรรลัย คือ เก่งมาก
การสร้างคำกริยา การเสริมท้ายคำด้วยคำกริยา เป็นการทำให้ความหมายของคำนั้นชัดเจนมากยิ่งขึ้น การเสริมท้ายคำกริยานั้นจะไม่ทำให้ความหมายเดิมเปลี่ยนไป  การเข้าคู่คำ คือการนำคำหลายคำมาเข้าคู่กันเพื่อให้ได้คำใหม่โดยอาจจะมีความหมายใหม่หรืออาจจะคงความหมายเดิม คู่คำพ้องความหมาย จะเป็นคำภาษาเดียวกัน หรือคำต่างประเทศก็ได้ แต่ความหมายจะยังคงเดิม เช่น ทรัพย์สิน เสื่อสาด สุขสบาย การงาน เป็นต้น คู่คำที่มีวามหมายตรงกันข้าม ส่วนใหญ่จะเกิดความหมายใหม่ เช่น คนมีคนจน ผู้หญิงผู้ชาย งานหนักงานเบา ข้อเท็จจริง เป็นต้น คู่คำที่มีความหมายต่างกัน เช่น ลูกเมีย ข้าวปลา เรือไอ ต้องใจ เป็นต้น
สำนวนโวหาร ในการแปลขั้นสูงนั้นผู้แปลจะต้องรู้จักการเขียนสำนวนโวหาร และการใช้โวหารแบบต่างๆเพราะถ้าไม่เข้าใจเมื่อนำมาเขียนก้อจะทำให้ความหมายนั้นไม่ชัดเจนตามไปด้วย ในการเขียนวรรณกรรมผู้เขียนมักจะใช้โวหารแปลกๆซับซ้อน เพื่อให้เกิดความบันเทิง สำนวนที่มีคำซ้ำ หมายถึง คำเดียวกันซ้ำกันได้ และคำที่มีความหมายเหมือนกัน การใช้คำซ้ำจะประกอบทั้งข้อดีและข้อเสีย ต้องระมัดระวังในการใช้คำซ้ำ ข้อดีของการใช้คำซ้ำคือ เพื่อความไพเราะ เพื่อให้มีความหมายอ่อนลง เพื่อให้ได้คำใหม่ๆ เพื่อแสดงว่ามีจำนวนมาก ปริมาก หรือเป็นพหูพจน์
โวหารภาพพจน์ เป็นโวหารที่ทำความเข้าใจยากเพราะบางครั้งผู้อ่านไม่สามารถที่จะจินตนาการได้ว่าสิ่งที่ผู้เขียนบรรยายนั้นหมายถึงอะไร โวหารอุปมา คือการสร้างภาพพจน์ด้วยการเปรียบเทียบโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจะชี้แจงอธิบาย หรือเสริมให้งดงามขึ้น โวหารชนิดนี้จะใช้คำเชื่อม เหมือนกับ ราวกับ ประดุจ ประหนึ่งและอื่นๆ
โวหารอุปลักษณ์ เป็นการเปรียบเทียบความหมายโดยนำความเหมือนกับความไม่เหมือนมากล่าว การเปรียบเทียบประเภทนี้แสดงให้เห็นถึงความเก่งของกวีเพราะจะเป็นการเลี่ยงใช้คำพื้นๆ ไปสู่คำที่ตื่นเต้นยิ่งกว่า เช่น วัยไฟ  คือ วัยรุ่น วินัยเหล็ก คือ วินัยที่ต้องปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง โวหารเย้ยหยัน คือการใช้ถ้อยคำด้วยอารมณ์ขัน เพื่อยั่วล้อ เย้ยหยันเหน็บแนมหรือชี้ให้เห็นข้อบกพร่องและความไม่ฉลาดของสิ่งที่กล่าวถึง โวหารชนิดนี้ผู้แต่งจะแกล้งเป็นคนโง่ ดังนั้นความหมายที่แท้จริงคือเป็นคนฉลาดนั่นเอง เช่น ความชั่วของเธอน้ำทั้งมหาสมุทรก็ล้างไม่หมด ตัวเป็นไทยแต่ใจเป็นทาส เป็นต้น
โวหารขัดแย้ง คือการใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามมาเรียงต่อกันโดยรักษาสมดุลไว้ เช่น รักษาจำนวนคำทั้งสองฝั่งให้เท่ากันไว้ เช่นคำว่า คนสูงตำหนิตัวเอง คนต่ำตำหนิผู้อื่น การศึกษานั้นคนเลวมองดู คนโง่ลงมือทำ คนฉลาดนำมาใช้ โวหารขัดแย้งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า paradox เป็นการกล่าวขัดแย้งกับความจริงหรือความเชื่อและความคิดเห็นของบุคคลทั่วไป
โวหารที่ใช้ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด (Metonymy)  การนำเอาคุณสมบัติเด่นๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาใช้แทนทีจะเอ่ยถึงสิ่งนั้นโดยตรง เช่น ปากกาคมกว่าดาบ บางครั้งการนำเอาคุณสมบัติมาใช้ก็ได้รับความนิยมจนกลายเป็นสัญลักษณ์ไป โวหารบุคลาธิษฐาน (Personification) คือการนำสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมทั้งความคิด การกระทำ และนามธรรมอื่นๆมากล่าวเหมือนเป็นบุคคล การใช้บุคคลาธิษฐานนี้นับเป็น Metaphor นิยมใช้มากที่สุดในบทร้อยกรอง วานเมฆว่าย ฟ้าไปเฝ้าน้อง จันทร์เอ่ยจันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกง ขอแหวนทองแดงผูกมือน้องข้า เป็นต้น
โวหารที่กล่าวเกินจริง โวหารชนิดนี้มีจุดประสงค์ที่จะเน้นให้ความสำคัญ ชี้ให้ชัดเจนและเด่น และใช้เพื่อแสดงอารมณ์ที่รุนรุน ไม่ได้ต้องการอธิบายข้อเท็จจริง เช่น คิดถึงใจจะขาด หิวน้ำจนคอเป็นผง คอยนานตั้งปี ลักษณะที่ดีของโวหาร ถูกหลักภาษา ไม่กำกวม มีชีวิตชีวา สมเหตุสมผล และคมคายเฉียบแหลม
จะเห็นได้ว่าถ้าหากเราจะเป็นผู้แปลที่ดีได้นั้นเราต้องแปลภาษาไทยให้ออกมาเป็นภาษาที่เป็นธรรมชาติที่สุดโดยการอาศัยองค์ประกอบดังที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น ซึ่งนอกจากนั้นแล้วการที่จะแปลภาษาให้ได้สวยงาม ราต้องอาศัยการศึกษาหารประเภทต่างๆเพื่อมาช่วยให้งานแปลของเรานั้นออกมามีคุณภาพและดึงดูดความสนใจของผู้อ่านงานแปลของเราได้มากยิ่งขึ้นด้วย



โครงสร้างพื้นฐานของประโยค
ประโยคในภาษาอังกฤษเราสามารถที่จะแยกออกเป็นโครงสร้างประโยคพื้นฐานได้มากมาย   ประโยคพื้นฐานสามารถเรียกได้ว่า basic  sentence  หรือ  bare  sentence  (ประโยคเปลือย)  หรือ kernel  sentence  (ประโยคแก่น)  ประโยคโครงสร้างประโยคพื้นฐานจะใช้คำน้อย แต่รูปแบบประโยคถูกต้อง ตามหลักภาษา  แต่รูปแบบประโยคไม่สละสลวย  มีผู้คิดค้นโครงสร้างพื้นฐานของประโยคไว้หลายท่าน ซึ่งแต่ละท่านได้แยกโครงสร้างประโยคออกเป็นแบบต่างๆ แต่เราจะเรียนเฉพาะ โครงสร้างประโยคพื้นฐานของฮอร์นบี ซึ่งมีด้วยกัน 25 แบบดังนี้
แบบที่   1  Vb  +  Direct Object  แบบที่  2  Vb  +  (not) + to + infinitive. etc.  แบบที่  3  Vb  +  Noun or pronoun  +  (not) + to + infinitive  แบบที่   4  Vb  +  Noun or pronoun  +  (to be)  +  complement  แบบที่   5  Vb  +  Noun or pronoun  +  Infinitive. etc.  แบบที่   6  Vb  +  Noun or pronoun  +  Present  Participle  แบบที่   7 Vb  + Object +  Adjective  แบบที่   8 Vb  + Object +  Noun  แบบที่   9 Vb  + Object +  Past  Participle  แบบที่   10 Vb  + Object +  Adverb, Adverb Phrase, etc.  แบบที่   11 Vb  + (that) + clause  แบบที่   12 Vb  + Noun or pronoun + (that) + clause  แบบที่   13 Vb  + Conjunctive + to + infinitive. etc.
แบบที่   14 Vb  + Noun or pronoun + Conjunctive + to + infinitive. etc.  แบบที่   15 Vb  + Conjunctive + Clause  แบบที่   16 Vb  + Noun or pronoun + Conjunctive  +  Clause  แบบที่   17 Vb  + Gerund, etc.  แบบที่   18 Vb  + Direct Object  +  Prep.  +  Prepositional Object  แบบที่   19 Vb  + Indirect  Object +  Direct Object  แบบที่   20 Vb  + (for) + Complement  แบบที่   21 Vb  + verb  แบบที่   22 Vb  + Predicative  แบบที่   23 Vb  + Adverbial  Adjunct  แบบที่   24 Vb  + Prep.  +  Prepositional  Object แบบที่   25 Vb  + to + Infinitive

ดังจะเห็นได้ว่ารูปแบบโครงสร้างดังที่ยกข้างต้นนั้นแต่ละรูปแบบมีความแตกต่างกันซึ่งขึ้นอยู่กับผู้ใช้ว่าจะใช้โครงสร้างรูปแบบไหนที่จะเหมาะสมกับประโยคที่แต่งขึ้น เพื่อให้เกิดความสวยงามและความถูกต้องตามโครงสร้างประโยคที่ของฮอร์นบี

การแปลบันเทิงคดี
                ถ้าพูดถึงเรื่องการแปล ในการแปลนั้นมีเรื่องราวต่างๆให้เราแปลได้มากมายและมีงานแปลประเภทต่างๆที่ราต้องศึกษาเพื่อที่จะนำมาใช้กับงานแปลของเราเพื่อให้งานแปลของเรามีความไพเราะ และเนื้อความที่เราแปลนั้นไม่ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับที่เราแปลซึ่งประเภทของการแปลนั้นมีหลากหลายประเภทแต่วันนี้ราจะมาศึกษาการแปลบันเทิงคดี
                บันเทิงคดี คือ งานแปลทุกประเภทที่ไม่อยู่ในประเภทของงานวิชาการและสารคดี รวมทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ในการแปลบันเทิงคดีนั้นมีประกอบด้วยองค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี ดังนี้ การแปลบันเทิงคดีทั้งในด้านของเนื้อหานั้นจะนำเสนอเนื้อหาที่มีความเป็นจริงบ้าง หรืออาจจะสอดแทรกทัศนะความรู้สึกหรือประสบการณ์ของผู้เขียนลงไปด้วย นั้นคือการเขียนบันเทิงคดีมีจุดประสงค์หลักคือ การสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้อ่านดังนั้นบันเทิงคดีอาจจะเป็นการถ่ายทอดจินตนาการของผู้เขียนล้วนๆ
                องค์ประด้านภาษาของการแปลบันเทิงคดี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การใช้สรรพนาและคำเรียกบุคคล การใช้คำที่มีความหมายแฝง และภาษาเฉพาะวรรณกรรม แต่ในบทนี้ เราจะศึกษาเกี่ยวกับ ภาษาที่มีความหมายแฝง คำศัพท์ในภาษาใดๆก็ตามคำศัพท์ที่มีความหมายตรงตัวหรือความหมายตามตัวอักษรและความหมายแฝงของคำศัพท์คำเดียวกัน ในการแปลนั้นผู้แปลจะต้องมีไหวพริบในการเลือกใช้คำเพราะต้องสังเกตว่าในคำหนึ่งคำนั้นมีความหมายแฝงหรือไม่ เพื่อป้องกันความผิดพลาดของงานแปล และนอกจากกระบวนงานแปลทุกประเภทแล้วสิ่งที่ผู้แปลไม่ควรปฏิบัติคือ การใช้พจนานุกรมสองภาษา เพียงอย่างเดียวแต่ควรใช้พจนานุกรมภาษาเดียว
                ภาษาเฉพาะวรรณกรรมหรือโวหารภาพพจน์ บันเทิงคดีมักจะใช้โวหารในรูปแบบต่างๆเพื่อที่จะมาแปลเรื่องราวๆนั้นให้ได้รูปแบบประโยคที่ไพเราะและสวยงามมากยิ่งขึ้น ภาษาในกลุ่มนี้จะมีลักษณะเด่นนั่นก็คือ การสะท้อนวัฒนธรรมด้านต่างๆลงไปในภาษา อีกประการหนึ่งนั่นคือ ภาษากลุ่มนี้โยงใยทุกแง่ทุกมุมของวัฒนธรรมอารยธรรม ของมนุษย์ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของภาษาโวหารภาพพจน์ อาจปรากฏในการเขียนปกติหรือการเขียนเฉพาะอย่าง
                รูปแบบของโวหารอุปมาอุปไมย โวหารอุปมาอุปไมยคือ การสร้างภาพพจน์โดยการเปรียบเทียบโดยการเปรียบเทียบแบบชีแจง อธิบายหรือเน้นถึงสิ่งที่กล่าวถึงให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น โวหารอุปมาอุปไมยทั้งในภาษาไทยและอังกฤษ มักจะมีคำที่ใช้เป็นลักษณะเฉพาะของภาษาอยู่ชัดเจน เช่น เปรียบเหมือน, เหมือนกับ(ว่า) ภาษาอังกฤษคือ Be like ,as…as เป็นต้น
โวหารอุปมาอุปไมยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมักจะเปรียบเทียบสองประเภทคือ การเปรียบเทียบคำนามกับคำนาม และคำกริยากับคำกริยา ในการแปลนั้นผู้แปลจะต้องเคร่งครัดในเรื่องของไวยากรณ์เพราะการแปลอุปมาอุปไมยนั้นเป็นเพียงการเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นแต่โครงสร้างทางภาษาและหลักไวยากรณ์ไม่เปลี่ยนแปลง
รูปแบบของโวหารอุปลักษณ์ (metaphor) คือการเปรียบเทียบความหมายของสิ่งสองสิ่งนำความเหมือนกับความไม่เหมือนมาเปรียบเทียบกัน เช่น เงินตรากับพระเจ้า ชีวิตยามหนุ่มนั้นเป็นเพียงธรณีประตูเป็นต้น ไม่ว่าภาษาใดๆในโลกนี้ก็ล้วนแต่มีภาษาที่เป็นสำนวนอุปลักษณ์ทั้งสิ้น แต่จะเป็นภาษาเฉพาะของภาษานั้นๆ
                การแปลโวหารอุปมาอุปไมยและโวหารอุปลักษณ์  ผู้แปลจะต้องคำนึงความจริงบางประการที่เกี่ยวข้องกับทางภาษา ประการแรกคือภาษาใดๆเป็นเครื่องสื่อสารถ่ายทอดความหมายและวัฒนธรรมของชาตินั้น ประการที่สองคือ องค์ประกอบทางวัฒนธรรมของชาติ 2 ภาษา มักจะมีความแตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง ในการแปลโวหารนั้นผู้แปลต้องปรับโวหารต่างๆให้เมาะสมกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาโดยมีหลักปฏิบัติดังนี้
1. เมื่อรูปแบบของภาษาสอดคล้องกันและมีความหมายเหมือนกันทั้ง 2 ภาษา ผู้แปลจะต้องแปลโวหารอุปมาอุปไมยนั้นตามตัวอักษรเท่านั้น เช่น ออกดอกออกผล = bear fruit   2. เมื่อโวหารอุปมาอุปไมยและอุปลักษณ์นั้นไม่มีความสำคัญต่อเนื้อหาของงานเขียนผู้แปลอาจตัดทิ้งได้โดยไม่ต้องแปล 3. เมื่องานเขียนนั้นเป็น authoritative text เช่นกวีนิพนธ์เอกของโลกผู้แปลโวหารนั้นควรแปลตามตัวอักษรโดยใส่หมายเหตุเพื่อชี้แจงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ และข้อสุดท้าย 4 . สืบค้นในงานเขียนอุปมาอุปไมยและอุปลักษณ์ในงานเขียนชนิดต่างๆในภาษาแปล ผู้เขียนอาจใช้โวหารอุปมาอุปไมยและอุปลักษณ์ 2 ชนิด คือ สำนวนโวหารที่นักเขียนคิดขึ้นเองและอุปมาอุปไมยที่อยู่ในภาษาตั้งแต่โบราณมา 

ซึ่งจะเห็นได้ว่าในการแปลบันเทิงคดีนั้นผู้แปลจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการแปลในเรื่องเกี่ยวกับโวหารต่างๆอย่างมาก เพราะในการแปลงานบันเทิงคดีนั้นสิ่งที่ผู้แปลต้องใช้ คือ โวหารประเภทต่างๆเพื่อมาขยายและช่วยให้ผู้อ่านเกิดภาพจินตนาการมากขึ้นและที่สำคำการนำโวหารประเภทต่างๆมาช่วยในงานแปลนั้นจะทำให้งานแปลบันเทิงคดีมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

การถ่ายทอดตัวอักษร (Transliteration)
                ในชีวิตประจำวันของเราเมื่อเราได้สื่อสารกับชาวต่างชาติไม่ว่าจะเป็นภาษาใดๆก็ตาม เราก็มักจะแปลภาษานั้นด้วยจิตใต้สำนึกของเราเองซึ่งบางครั้งเราก็แปลออกมาผิดบ้างถูกบ้าง ซึ่งถ้าเราได้ศึกษาการถ่ายทอดตัวอักษรมาเราก็จะสามารถแปลภาษานั้นๆได้อย่างถูกต้องตามหลักภาษาได้ ซึ่งเรื่องที่จะศึกษาวันนี้คือเรื่องการถ่ายทอดตัวอักษรที่เราไม่เคยทราบกันมาก่อนว่า การถ่ายทอดตัวอักษรนั้นคืออะไร
                การถ่ายทอดตัวอักษรคือ การนำคำในภาษาหนึ่งหนึ่งไปเขียนในอีกภาษาหนึ่ง โดยให้มีเสียงที่ใกล้เคียงกับภาษานั้นมากที่สุด ซึ่งเราจะถ่ายทอดภาษาได้ในกรณีดังนี้ เช่น ภาษาต้นฉบับที่ใช้แทนชื่อเฉพาะของสิ่งต่างๆ เช่น ชื่อคน ชื่อสถานที่ แม่น้ำ ภูเขา หรือชื่อสถาบันต่างๆ และเมื่อคำในภาษาต้นฉบับมีความหมายอ้างถึงวิ่งที่เป็นรูปธรรม หรือนามธรรมที่ไม่มีในสังคมของภาษาต้นฉบับแปลจึงไม่มีคำเทียบเคียง ซึ่งในกรณีนี้ผู้แปลอาจจะแก้ปัญหาได้โดยการ ให้คำนิยาม หรือใช้คำทับศัพท์เลยก็ได้
                ปกติเราจะนิยมใช้คำเดิม ผู้แปลจึงควรที่จะปฏิบัติในการถ่ายทอดเสียงของคำดังนี้ คือ อ่านคำนั้นเพื่อให้รู้ว่าคำๆนั้นประกอบด้วยเสียงอะไรบ้างเพื่อเวลาแปลจะเลือกใช้เสียงที่ใกล้เคียงที่สุด ต่อไปคือ ทุกภาษาจะมีเสียงสระและพยัญชนะตรงกันเป็นส่วนมากเมื่อแปลสามารถนำเสียงของภาษาที่ต้องการจะแปลนั้นมาแทนได้เลยและเมื่อเรากำหนดตัวอักษรใดตัวหนึ่งแทนเสียงนั้นๆไปแล้วก็แทนเสียงนั้นตลอดข้อสุดท้าย คือ สำหรับการเพิ่มคำศัพท์มาใช้โดยการเขียนลงในภาษในฉบับแปล ถ้าคำนั้นยังไม่เป็นที่แพร่หลายให้วงเล็บคำเดิมไว้ในต้นฉบับด้วย
                ตัวอย่างเช่น  การถ่ายทอดภาษาต้นฉบับที่เป็นภาษาไทยแปลเป็นภาษาอังกฤษ พยัญชนะ จะมีทั้งต้นพยางค์และท้ายพยางค์ เราจะแทน ก ต้นพยางค์ แทนด้วย k- ท้ายพยางค์ แทนด้วย –k และ –g   เช่นคำว่า  กานดา  จะถ่ายทอดออกได้เป็น Kanda  บุนนาค =  Bunnag , ม แทนด้วย m- ท้ายพยางค์ แทนด้วย –m    เช่นคำว่า เมือง  Mueang    เป็นต้น สระก็ด้วยเช่นกัน สระภาษาไทยได้แก่  อิ แทน สระอังกฤษ i , สระ อี แทน สระอังกฤษ i,ee เช่น คำว่า  จิตศจี  =  Jitsajee สระ แอะ,แอ  แทน สระอังกฤษ ae  เช่น  แสวง  Sawaeng เป็นต้น
                ต่อไป เป็นการถ่ายทอดชื่อภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย การดูให้ดูแบบเดียวกับแบบแรก พยัญชนะ เช่น [ph] แทนด้วย พ- ,-พ  เช่นคำว่า Pam  แพม  ,Chip  ชิพ  ,[p]  -, -ป  Spock   =   สปอต, [b]  แทนด้วย  บ- Bjon  Borg  =  บจอน บอร์ก,  [t h] แทนด้วย  ท-, - ท เช่น  Tyrone = ไทโรน, Pat = แพท สระก็เช่นกัน [s]
แทนด้วย  ส- ,-Stawback = สตอว์แบค, Texas = เท็กซัส , [z] แทนด้วย  ซ-,-, -Zaire  =  แซร์, New Zealand  = นิวซีแลนด์, Rose  =  โรส, โรซ เป็นต้น

                จากการศึกษาใบความรู้นี้สรุปได้ว่า การที่เราจะถ่ายทอดตัวอักษรนั้นจะต้องปฏิบัติตามข้อตกลงข้างต้นดังที่ได้กล่าวมาแล้ว และในการถ่ายทอดตัวอักษรนั้นเราสามารถที่จะถ่ายทอดจากภาษาต้นฉบับไปสู่ภาษาแปลซึ่งเราต้องเทียบเคียงเสียงของพยัญชนะและสระนั้นๆให้ใกล้เคียงมากที่สุดก่อนที่จะถ่ายทอดตัวอักเพื่อให้การอ่านออกเสียงภาษาที่แปลแล้วนั้นใกล้เคียงกับต้นฉบับมากที่สุดและเกิดความไพเราะ

The  Passive
                รูปแบบประโยคทั่วไปในภาษาอังกฤษที่เราเห็นส่วนใหญ่ เราจะเห็นในรูปแบบที่เป็น Active voice  คือรูปแบบประโยคที่ประธานของประโยคนั้นๆเป็นผู้กระทำกริยานั้นๆ แต่สำหรับใบความรู้นี้เราจะศึกษาเกี่ยวกับ Passive voice  คือ ประโยคที่เราแปลงมาจาก Active จากประโยค Active ที่ประธานเป็นผู้กระทำ เราก็กลับกัน Passive voice  คือ ประโยคที่ประธานเป็นผู้ถูกกระทำ ซึ่งเราสามารถเปลี่ยนจากประโยค Active เป็นประโยค Passive ได้ดังนี้
                โครงสร้างของ Passive voice คือ Subject + V. to be + V.3 ซึ่ง v. to be เราสามารถเปลี่ยนรูปของ passive voice ได้ตามลักษณะของแต่ละ tense  ซึ่ง สามารถศึกษาได้จากตารงด้านล่างนี้
Active Voice
Passive Voice
1. Present Simple
    - The teacher punishes the boy.
    - Do you always laugh at him?

is , am, are + V3
  - The boy is punished by the teacher.
  - Is he always laughed at by you?
2. Present Continuous
  - The painters are painting  our house.
  - Are the students doing  the exercises?
  is, am, are + being + V3
  - Our house is being painted   by the     painters.
  - Are   the exercises being done by the students?
3. Present Perfect
  - They have built  a new hotel.
  - Has  the boy caught a bird?

has, have + been + V3
  - A new hotel has been built  by them.
  - Has a bird been caught by the boy?
4. Present Perfect Continuous
- Trenton Company has been making bikes since 1960.
has, have + been + being +V3
- Bikes have been being made by Trenton Company since 1960.
5. Past Simple
- My sister wrote  a letter.
Did  the servant polish Tom's shoes?

was , were + V3
- A letter was written  by my sister.
Were Tom's shoes polished by the servant?
6. Past Continuous
- While John was introducing  me, the telephone rang.
Weren't they digging this hole when you went past yesterday?
was , were + being + V3
-While I was being introducing  by John, the telephone rang.
Wasn't this hole being dug  by them when you went past yesterday?
7. Past Perfect
- The guests had eaten all the food.
Had he seen you before?
had + been + V3
- All the food had been eaten by the guests.
Had you been seen  by him before?
8. Past Perfect Continuous
- Mr. Trevor had been teaching English in Jamiaca for many years before he moved to Thailand.
had + been + being + V3
- English had been being taught by Mr.Trevor in Jamaica for many years before he moved to Thailand.
9. Future Simple
- His mother will beat him if he does that again.
Will  Mary invite Jack to her party?
will + be + V3
- He will be beaten by his mother if he does that again.
- Will Jack be invited  by Mary to her party?
10. "going to" future
- They are going to widen  the bridge.
Is she going to open  the shop?
will be + being + V3
- The grass will be being mown at two o'clock tomorrow by them.
11. Future Perfect
- By next March the pupils will have taken  the examination.
- Will she have announced the results by the end of next month?
will have + been + V3
- By next March the examination will have been taken  by the pupils.
- Will the results have been announced  by her by the end of next month?
12. Future perfect Continuous
- By next year they'll have been building that road for a year.
will have been being + V3
- By next year that road will have been being built by them for a year.

                จากตารางด้านบนพอที่จะสรุปได้ว่าหากเราต้องการทำประโยคที่เป็น Active ให้เป็น  Passive ได้นั้นเราสามารถเปลี่ยนกริยาให้เป็น v.to be แล้วตามด้วย V. 3 ตาม tense ต่างๆดังที่ปรากฏในตารางด้านบน เพื่อความถูกต้อง แต่บางครั้งสำหรับบางประโยคก็ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนรูปแบบของประโยคเสมอไปซึ่งขึ้นอยู่กับผู้เรียนว่าจะเห็นสมควรที่จะเปลี่ยนให้เหมาะสมและถูกต้อง



Text Type
                ในชีวิตประจำวันของเรา เรามักจะพบเจอการเขียนประเภทต่างๆอยู่บ่อยครั้งการเขียนที่เราสามารถพบเห็นได้บ่อยที่สุดคือการเขียนโฆษณาเชิญชวนตามป้ายต่างๆ การเขียนบรรยายที่เราสามารถพบเจอในชั้นเรียนของเรา ซึ่งจริงๆแล้วเราอาจจะพบเจอการเขียนประเภทอื่นๆอีกแต่เราอาจจะไม่ทราบว่าการเขียนประเภทนั้นคืออะไร ซึ่งประเภทของการเขียนนั้นมีหลากหลายประเภทซึ่งแต่ละประเภทก็มีจุดประสงค์ที่แตกต่างกันออกไป และจะมีรูปแบบของการเขียนประเภทต่างๆซึ่งเราสามารถศึกษาประเภทของการเขียนได้ดังนี้
                ประเภทแรกคือ Descriptive writing การเขียนบรรยาย เป็นการใช้คำบรรยายรูปภาพ หรืออาจจะบรรยาย คน เหตุการณ์ กระบวนการต่างๆหรืออาจจะใช้บรรยายความรู้สึกได้ ประเภทถัดไปคือ Narrative writing การเขียนเล่าเรื่อง เป็นการเขียนเล่าเรื่องราวต่างๆของเหตุการณ์นั้นๆ ถัดไปคือ Recount เป็นการเขียนเล่าถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมาในอดีต การเขียนประเภท Discussion เป็นการเขียนสรุปจากสิ่งที่เราได้พูดคุยร่วมกัน ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ การเปรียบเทียบหรืออาจจะเป็นการอภิปรายต่างๆเราสามารถใช้การเขียนประเภทนี้ได้
                การเขียนประเภทถัดไปคือ Exposition or Argument เป็นการเขียนโต้แย้งในการสรุปความคิดมุมมองต่างๆหรือการแสดงความคิดเห็นจากสิ่งที่เราได้ฟังว่าเราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยจากสิ่งที่เราฟัง ถัดไปคือ Procedure เป็นการเขียนที่เน้นกระบวนการดำเนินงาน ถัดไปคือ Information report  เป็นการเขียนรายงานข้อมูลตามความเป็นจริง ถัดไปคือ Explanation เป็นการเขียนอธิบาย หรือการเขียนให้เหตุผลว่าทำไมต้องเป็นแบบนี้หรือเป็นการเขียนอธิบายว่าทำอย่างนี้อย่างไร การเขียนประเภทถัดไปคือ Personal response เป็นการเขียนตอบสนองส่วนบุคคล การเขียนแสดงสิ่งที่ประทับใจโดยรวมของการทำงานหรือสิ่งต่างๆ
                ต่อไปจะเป็นการศึกษาเกี่ยวกับ รูปแบบของการเขียน ซึ่งจะประกอบด้วยรูปแบบของการเขียนปรเภทต่างๆ ได้แก่ การเขียนจดหมายส่วนบุคคล The personal letter  ซึ่งในการเขียนจดหมายสิ่งที่เราต้องมีคือ ที่อยู่ของผู้ส่งจะเขียนไว้ส่วนบนและตามด้วยวันที่ ต่อไปเป็นการเขียนทักทายด่านล่างของวันที่ ถัดไปเป็นการเขียนแนะนำว่าเรามีเหตุผลใดที่ได้เขียนจดหมายนี้มา ถัดไปก็จะเป็นการเขียนเนื้อความของจดหมาย ในการเขียนจดหมายนั้นน้ำเสียงจะต้องเป็นมิตรและไม่เน้นหลักไวยากรณ์ ในการเขียนนั้นเราจะใช้สรรพนามบุรุษที่  1 คำศัพท์ที่ใช้ใช้คำศัพท์ที่บ่งชี้ว่ามีความสัมพันธ์กับผู้รับ ในตอนสรุปเราจะใช้คำสั้นๆในการสรุปและในตอนจบเราจะเขียนจบแบบคนที่เราสนิทหรืออาจจะเป็นคนในครอบครัวไม่จำเป็นต้องใส่นามสกุลก็ได้
                รูปแบบต่อไปเป็นการเขียนจดหมายทางการ Formal letter เป็นการเขียนร้องเรียน หรือการเขียนสมัครงาน หือแสดงความคิดเห็น น้ำเยงที่ใช้เขียน จะต้องสุภาพ และเกี่ยวข้องกับเรื่องที่เราเขียน สิ่งที่ต้องมีคือ ที่อยู่ของผู้ส่ง เขียนไว้มุมบนทางด้านขวาของกระดาษ และต้องไม่มีเครื่องหมายใดๆ จากนั้นตามด้วยหัวข้อของเรื่องที่จะเขียน ไว้ด้านบน ตามด้วยคำทักทายที่แสดงถึงตัวตนของผู้ส่ง ต่อไปเป็นการเขียนแนะนำจุดประสงค์ของการเขียนจดหมาย ในย่อหน้าถัดไปก็จะเป็นการเขียนถึงเนื้อหาของจดหมา ถัดไปก็จะเป็นการเขียนสรุป เป็นการเขียนเพื่อกระชับความสัมพันธ์ให้ดียิ่งขึ้น และในตอนจบต้องต้องส่งชื่อของผู้ส่งให้เรียบร้อย
                และนอกนอกจากนี้ก็จะเป็นการเขียนรูปแบบต่างๆ ซึ่งประกอบด้วย การเขียนโพสต์การ์ด Postcards การเขียนจดหมายเชิญ Invitations การเขียนสัญญา Diary extract การเขียนสัมภาษณ์ Interviews / Dialogues การเขียนสคริป Script writing การเขียนบทความ Feature article การเขียนบทบรรณาธิการ Editorial การเขียนใบปลิว Pamplet การเขียนโฆษณา Advertising และการเขียนจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ Electronic Communication ซึ่งประกอบด้วย E- mail ,Eax, SMS นอกจากนี้ยังมีการเขียนบทกลอน บทกวี Poetry writing  อีกด้วย
                สรุปได้ว่าประเภทของการเขียนนั้นมีมากมายหลายรูปแบบซึ่งแต่ละรูปแบบนั้นก็ขึ้นอยู่กับผู้เขียนและงานของเราว่าจะเลือกใช้การเขียนรูปแบบใดที่จะเหมาะสมกับงานที่เราจะเขียน ซึ่งนอกากเราจะเลือกประเภทของดารเขียนแล้วเราก็ต้องคำนึงถึงแบบฟอร์มของการเขียนประเภทต่างๆด้วยเช่นกัน เพราะการเขียนแต่ละประเภทนั้นก็มีรูปแบบ แบฟอร์มของตัวมันเองอยู่ ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องคำนึงในเรื่องการเขียนประเภทต่างๆด้วยเช่นกัน




Model
                การเขียนประกอบด้วยกันมากมายหลายประเภทแต่สำหรับการเขียนสรุปเรื่องหรือการเขียนบันทึกเรื่องราวต่างนั้นอย่างมีระบบและเป็นขั้นตอนเราสามารถเขียนได้โดยการเขียนเชิงวิชาการ ซึ่งในการเขียนเชิงวิชาการนั้นเราสามารถศึกษาขั้นตอนการเขียนเชิงวิชาการได้จากการศึกษาเอกสารประกอบการเรียน เรื่อง Model 1 Relations between idea ได้ดังนี้
                ในการเขียนเชิงวิชาการนั้นจะมีส่วนประที่สำคัญด้วยกันสามอย่างคือ Introduction การเขียนนำเข้าเรื่องถัดไปคือ Body เป็นส่วนของเนื้อหาเรื่องนั้นๆ และสุดท้ายคือ Conclusion การเขียนสรุปเรื่อง ในการเขียนต่างๆสิ่งแรกที่เราต้องมีคือ ชื่อเรื่องซึ่งและสิ่งที่สำคัญอีกอย่างนั้นก็คือ การเขียนนำเข้าเนื้อเรื่องของเรื่องนั้นๆซึ่งในการเขียนขั้นนำเข้าสู่เนื้อหานั้นสิ่งที่เราจะต้องคำนึงคือเนื้อหาที่เราจะใส่นั้นต้องสอดคล้องกับชื่อเรื่องด้วยเสมอ ขั้นถัดไปคือการเขียนเนื้อหาของเรื่อง
                ในขั้นถัดไปคือการเขียนเนื้อหาของเรื่องต่างๆซึ่งในการเขียนนั้นเราจะต้องมีความคิดหลักไว้เพื่อเป็นหลักว่าในการเขียนเนื้อหานั้นเราจะกล่าวถึงเรื่องใดจากนั้นจะต้อมีความคิดที่ไปสนับสนุนเนื้อหาหลักที่เราได้กำหนดไว้ซึ่งความคิดสนับสนุนนั้นอาจจะมี 1-2 ความคิดที่จะไปสนับสนุนแต่ความคิดสนับสนุนนั้นต้องสอดคล้องกับความคิดหลัก ซึ่งในเรื่องนั้นๆเราอาจจะมีความคิดหลักอย่างน้อย 2 ความคิดหลัก แต่ความคิดหลักนั้นจะต้องสอดคล้องกับการเขียนนำเข้าเรื่องด้วยเช่นกันขั้นต่อไปคือการเขียนสรุป
                ส่วนสุดท้ายของการเขียนคือ การเขียนสรุปเรื่องที่เราได้ดำเนินมาซึ่งในการเขียนสรุปนั้นสิ่งที่เราจะใช้บรรยายนั้นจะต้องเกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่เราได้เขียนไว้ในเรื่องของความคิดหลักต่างๆซึ่งเราจะต้องนำความคิดหลักเหล่านั้นมากลั่นกรองและรวบรวมเข้าเป็นเรื่องราวเดียวกันซึ่งการเขียนนั้นเนื้อหาที่เราใช้จะต้องไม่นอกเรื่องจะต้องเกี่ยวข้องกับขั้นนำที่เราได้นำเข้าเรื่องด้วยเสมอ

                ซึ่งจะเห็นได้ว่าในการเขียนเชิงวิชาการนั้นเราจะต้องมีส่วนประกอบทั้งหมดให้ครบถ้วนซึ่งในการเขียนประเภทนี้จะเป็นที่นิยมเขียนกันเพราะไม่ว่าจะสาขาวิชาชีพใดหากเราได้รับหมอบหมายในการเขียนรายงานต่างๆสิ่งที่เราจะต้องมีคือการเขียนนำเข้าเรื่อง ความคิดหลักของเรื่องและสิ่งสุดท้ายคือการเขียนสรุปหากเราสามารถที่จะเขียนได้ตามรูปแบบของการเขียนเชิงวิชาการแล้วเรื่องที่เราเขียนก็จะทำให้น่าอ่านมากขึ้น