วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558

Learning log week 6
(นอกห้องเรียน)
                เนื่องจากสิ่งต่างๆในโลกนี้ ไม่ได้มีลักษณะเหมือนกันไปหมดทุกอย่างแต่จะมีความแตกต่างกันทั้งลักษณะภายนอก เช่น สูง ต่ำ อ้วน ผอม และคุณสมบัติต่างๆ เช่น ดำ ขาว สวย ไม่สวย เป็นต้น ซึ่งคำมนภาษาอังกฤษที่แสดงความหมายเหล่านี้มี 2 ประเภท คือ คำคุณศัพท์ (Adjective) และคำกริยาวิเศษณ์ (Adverb) การที่จะบอกให้ทราบว่าคน สัตว์ สิ่งของแต่ละชนิดมีสิ่งต่างๆเหล่านี้มากน้อยกว่าเท่าใดจึงใช้การเปรียบเทียบ (comparison) ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่ Positive Degree (ขั้นปกติ) และ Comparative Degree(ขั้นกว่า) และระดับสุดท้าย คือ Superative Degree (ขั้นสุด)
                การเปรียบเทียบคำคุณศัพท์ เพื่อร้างขั้นกว่าและขั้นสุดทำได้สองวิธี คือ สร้างรูปขั้นกว่าให้เติม er,หรือเติม more ข้างหน้า และอีกวิธีหนึ่งคือสร้างรูปขั้นสุดให้เติม the ข้างหน้าและ est ท้ายคำ หรือเติม the most ข้างหน้า การสร้างรูปคุณศัพท์ขั้นกว่าและขั้นสุด คำที่เติม er, est ท้ายคำได้แก่ คำคุณศัพท์ที่มีพยางค์เดียวลงท้ายด้วยตัวสะกดสองตัว หรือลงท้ายด้วยตัวสะกดตัวเดียวแต่มีสระสองตัว หรือเติม er,est ได้เลยตัวอย่างเช่น hard       harder   hardest = แข็ง   long  longer   longest = ยาว  sweet  sweeter  sweetest= หวาน  clear  clearer  clearest = กระจ่าง
                คำที่มีพยางค์เดียวมีสระตัวเดียวและตัวสะกดตัวเดียว ก่อนที่จะเติม er ,est ให้เติมตัวสะกดเพิ่มอีกตัว ได้แก่ big bigger  biggest = ใหญ่  hot hotter  hottest = ร้อน  thin  thinner  thinnest = ผอม  หรือถ้าเป็นคำพยางค์เดียวที่ลงท้ายด้วย e อยู่แล้วให้เติมเฉพาะ r, st ได้แก่  brave  braver  bravest = กล้าหาญ  fine  finer  finest = ดีงาม  หรือคำพยางค์เดียวหรือสองพยางค์ที่ลงท้ายด้วย y  และหน้า y เป็นพยัญชนะ ให้เปลี่ยน yเป็น i แล้วเติม er ,est ได้แก่  dry drier  driest = แห้ง  sly  slier  sliest = ขี้โกง  ยกเว้น shy  shyer  shyest= ขี้อาย แต่ถ้าหน้า y เป็นสระไม่ต้องเปลี่ยน y เป็น  ให้เติม er,est ได้แก่  gay  gayer  gayest = รื่นเริง   gray  grayer  grayest = เก่า เทา มอม
                คำสองพยางค์ที่ลงท้ายด้วย y, le, er, re, ow ให้เติม er, est ได้เลย (ถ้าลงท้ายด้วย y เปลี่ยน y เป็น I ก่อน) ได้แก่ happy  happier  happiest = สุข  clever  cleverer  cleverest = ฉลาด  narrow  narrower  narrowest = แคบ และคำสองพยางค์ซึ่งเน้นเสียงหนักที่พยางค์หลังให้เติม er ,est ได้ทันที ได้แก่  polite politer  politest = สุภาพ genteel  genteeler  genteelest = มีมารยาท remote  remoter  remotest = ไกล  sedate  sedater  sedatest = สงบ
                คำที่เติม more ,most ข้างหน้า คำสองพยางค์ซึ่งเน้นเสียงหนักที่พยางค์แรกให้เติม more,most ข้างหน้า ได้แก่ honest more honest most honest =ซื่อสัตย์  fluent more fluent most fluent = คล่องแคล่ว คำที่มีสามพยางค์ขึ้นไปให้ใช้ more, most นำหน้าคำซึ่งได้แก่ beautiful  more beautiful  most beautiful = สวย  special  more special  most special = พิเศษ  คำคุณศํพท์ที่มาจากกริยาช่อง 3 หรือกริยาที่เติม – ing ได้แก่ exciting more exciting  most exciting =  ตื่นเต้น pleased  more pleased  most pleased  = น่าพอใจ และคำที่สามารถเติมได้ทั้ง  est, er ,moe, most, ได้แก่ empty, windy, sunny, noisy, holy, gentle, funny, rainy, เป็นต้น
คำชนิดพิเศษที่เปลี่ยนรูป เช่น good(wellbetter  best = ดี  bad  worse  worst = เลว little, less least = น้อย   การเปรียบเทียบคำกริยาวิเศษณ์ สามารถทำได้เช่นเดียวกับคำคุณศัพท์ ลักษณะการเปรียบเทียบ คน สัตว์ สิ่งของต่างๆ สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบได้ 5 ลักษณะ ดังนี้ คือ Comparison of Equality (เปรียบเทียบความเท่ากัน) คือ การเปรียบเทียบบุคคลหรือสิ่งของตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป ที่มีลักษณะเหมือนกันหรือมีความหมายเท่ากัน โดยรูปแบบดังนี้  as+  Adj.\Adv. + as เช่น John is as tall as his father. His car runs as slow as a snail.
                ลักษณะถัดไป คือ Comparison of Inequality (เปรียบเทียบความไม่เท่ากัน) คือ การเปรียบเทียบบุคคลหรือสิ่งของตั้งแต่ 2 สิ่งขึ้นไป ที่มีลักษณะไม่เหมือนกันหรือมีไม่เท่ากัน โดยรูปแบบดังนี้  not so +  Adj.\Adv. + as หรือ not  +  Adj.\Adv.+ as เช่น I not so strong as my brother. Linda doesn’t run as fast as David. ลักษณะถัดไป คือ Comparison of Superiority คือการเปรียบเทียบขั้นสูงกว่า เพื่อจะบอกว่าสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีมากกว่า โดยรูปแบบดังนี้ Comparative Degree (Adj, Adv.) + than เช่น I am tall than my father. This train runs faster than that bus.
                ลักษณะที่สี่ คือ Comparison of Interiority (เปรียบเทียบขั้นกว่า) คือ เพื่อจะบอกว่า สิ่งใดสิ่งหนึ่งมีความน้อยกว่า แย่กว่า โดยมีรูปแบบดังนี้ less + Adj.\Adv. + than เช่น Three is less than five. , John runs less than Jimmy. และลักษณะสุดท้าย คือ Comparison of Supremacy (เปรียบเทียบขั้นสุด) คือ การเปรียบเทียบเพื่อจะบอกว่าสิ่งที่มีตั้งแต่ 3 สิ่งขึ้นไป มีความมากที่สุด ดีที่สุด  โดยมีรูปแบบดังนี้ + superlative degree + as , หรือ the + superlative degree + as เช่น Tom is the most polite person I know. He speaks the most loudly of this class.
                การใช้คำเปรียบเทียบบางคำ เช่น father- farthest, further- furthest และ farther- farthest ใช้เปรียบเทียบระยะทางและหมายความถึงนอกเหนือกว่านั้น หรือเพิ่มเติม และ further- furthest ใช้เกี่ยวกับความเหนือกว่าหรือไกลกว่าแต่ไม่เกี่ยวกับระยะทาง later- latest ใช้เปรียบเทียบเวลา latter ใช้แสดงว่า เป็นอันหลังใช้ในกรณีที่มี 2 สิ่ง เปรียบเทียบกัน last ใช้แสดงตำแหน่งสุดท้าย older- oldest ใช้แสดงความมีอายุมากกว่าได้ทั้ง คน สัตว์สิ่งของ elder- eldest ใช้ได้กับคน และเป็นคำคุณศัพท์ประกอบนามเพียงอย่างเดียว
                สรุปได้ว่า การใช้คำที่สามารถเปรียบเทียบได้มี 2 ชนิด คือ Adjective และ Adverb และคำทั้งสองชนิดสามารถที่จะทำให้เป็นขั้นกว่าและขั้นสุดได้โดยการเติม er, est, more, most ได้ขึ้นอยู่กับคำแต่ละคำสามารถที่จะเติมลักษณะใดได้บ้าง เพื่อที่จะทำให้เป็นขั้นกว่าและยังมีคางคำที่เปลี่ยนรูปเพื่อเป็นขั้นกว่าและขั้นสุด และสามารถเปรียบเทียบได้ใน 5 ลักษณะด้วยกัน คือ ขั้นเท่ากัน ขั้นไม่เท่ากัน ขั้น สูงกว่า ขั้นต่ำกว่าและขั้นสูงสุดดังนั้น หากเข้าใจชัดเจนและสามารถเปรียบเทียบสิ่งต่างๆได้ถูกต้องและชัดเจนมากยิ่งขึ้น



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น