วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


การแปลบันเทิงคดี
                ถ้าพูดถึงเรื่องการแปล ในการแปลนั้นมีเรื่องราวต่างๆให้เราแปลได้มากมายและมีงานแปลประเภทต่างๆที่ราต้องศึกษาเพื่อที่จะนำมาใช้กับงานแปลของเราเพื่อให้งานแปลของเรามีความไพเราะ และเนื้อความที่เราแปลนั้นไม่ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับที่เราแปลซึ่งประเภทของการแปลนั้นมีหลากหลายประเภทแต่วันนี้ราจะมาศึกษาการแปลบันเทิงคดี
                บันเทิงคดี คือ งานแปลทุกประเภทที่ไม่อยู่ในประเภทของงานวิชาการและสารคดี รวมทั้งร้อยแก้วและร้อยกรอง ในการแปลบันเทิงคดีนั้นมีประกอบด้วยองค์ประกอบของงานเขียนแบบบันเทิงคดี ดังนี้ การแปลบันเทิงคดีทั้งในด้านของเนื้อหานั้นจะนำเสนอเนื้อหาที่มีความเป็นจริงบ้าง หรืออาจจะสอดแทรกทัศนะความรู้สึกหรือประสบการณ์ของผู้เขียนลงไปด้วย นั้นคือการเขียนบันเทิงคดีมีจุดประสงค์หลักคือ การสร้างความบันเทิงให้แก่ผู้อ่านดังนั้นบันเทิงคดีอาจจะเป็นการถ่ายทอดจินตนาการของผู้เขียนล้วนๆ
                องค์ประด้านภาษาของการแปลบันเทิงคดี แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ การใช้สรรพนาและคำเรียกบุคคล การใช้คำที่มีความหมายแฝง และภาษาเฉพาะวรรณกรรม แต่ในบทนี้ เราจะศึกษาเกี่ยวกับ ภาษาที่มีความหมายแฝง คำศัพท์ในภาษาใดๆก็ตามคำศัพท์ที่มีความหมายตรงตัวหรือความหมายตามตัวอักษรและความหมายแฝงของคำศัพท์คำเดียวกัน ในการแปลนั้นผู้แปลจะต้องมีไหวพริบในการเลือกใช้คำเพราะต้องสังเกตว่าในคำหนึ่งคำนั้นมีความหมายแฝงหรือไม่ เพื่อป้องกันความผิดพลาดของงานแปล และนอกจากกระบวนงานแปลทุกประเภทแล้วสิ่งที่ผู้แปลไม่ควรปฏิบัติคือ การใช้พจนานุกรมสองภาษา เพียงอย่างเดียวแต่ควรใช้พจนานุกรมภาษาเดียว
                ภาษาเฉพาะวรรณกรรมหรือโวหารภาพพจน์ บันเทิงคดีมักจะใช้โวหารในรูปแบบต่างๆเพื่อที่จะมาแปลเรื่องราวๆนั้นให้ได้รูปแบบประโยคที่ไพเราะและสวยงามมากยิ่งขึ้น ภาษาในกลุ่มนี้จะมีลักษณะเด่นนั่นก็คือ การสะท้อนวัฒนธรรมด้านต่างๆลงไปในภาษา อีกประการหนึ่งนั่นคือ ภาษากลุ่มนี้โยงใยทุกแง่ทุกมุมของวัฒนธรรมอารยธรรม ของมนุษย์ถ่ายทอดออกมาในรูปแบบของภาษาโวหารภาพพจน์ อาจปรากฏในการเขียนปกติหรือการเขียนเฉพาะอย่าง
                รูปแบบของโวหารอุปมาอุปไมย โวหารอุปมาอุปไมยคือ การสร้างภาพพจน์โดยการเปรียบเทียบโดยการเปรียบเทียบแบบชีแจง อธิบายหรือเน้นถึงสิ่งที่กล่าวถึงให้เห็นภาพชัดเจนมากขึ้น โวหารอุปมาอุปไมยทั้งในภาษาไทยและอังกฤษ มักจะมีคำที่ใช้เป็นลักษณะเฉพาะของภาษาอยู่ชัดเจน เช่น เปรียบเหมือน, เหมือนกับ(ว่า) ภาษาอังกฤษคือ Be like ,as…as เป็นต้น
โวหารอุปมาอุปไมยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษมักจะเปรียบเทียบสองประเภทคือ การเปรียบเทียบคำนามกับคำนาม และคำกริยากับคำกริยา ในการแปลนั้นผู้แปลจะต้องเคร่งครัดในเรื่องของไวยากรณ์เพราะการแปลอุปมาอุปไมยนั้นเป็นเพียงการเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นแต่โครงสร้างทางภาษาและหลักไวยากรณ์ไม่เปลี่ยนแปลง
รูปแบบของโวหารอุปลักษณ์ (metaphor) คือการเปรียบเทียบความหมายของสิ่งสองสิ่งนำความเหมือนกับความไม่เหมือนมาเปรียบเทียบกัน เช่น เงินตรากับพระเจ้า ชีวิตยามหนุ่มนั้นเป็นเพียงธรณีประตูเป็นต้น ไม่ว่าภาษาใดๆในโลกนี้ก็ล้วนแต่มีภาษาที่เป็นสำนวนอุปลักษณ์ทั้งสิ้น แต่จะเป็นภาษาเฉพาะของภาษานั้นๆ
                การแปลโวหารอุปมาอุปไมยและโวหารอุปลักษณ์  ผู้แปลจะต้องคำนึงความจริงบางประการที่เกี่ยวข้องกับทางภาษา ประการแรกคือภาษาใดๆเป็นเครื่องสื่อสารถ่ายทอดความหมายและวัฒนธรรมของชาตินั้น ประการที่สองคือ องค์ประกอบทางวัฒนธรรมของชาติ 2 ภาษา มักจะมีความแตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้าง ในการแปลโวหารนั้นผู้แปลต้องปรับโวหารต่างๆให้เมาะสมกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาโดยมีหลักปฏิบัติดังนี้
1. เมื่อรูปแบบของภาษาสอดคล้องกันและมีความหมายเหมือนกันทั้ง 2 ภาษา ผู้แปลจะต้องแปลโวหารอุปมาอุปไมยนั้นตามตัวอักษรเท่านั้น เช่น ออกดอกออกผล = bear fruit   2. เมื่อโวหารอุปมาอุปไมยและอุปลักษณ์นั้นไม่มีความสำคัญต่อเนื้อหาของงานเขียนผู้แปลอาจตัดทิ้งได้โดยไม่ต้องแปล 3. เมื่องานเขียนนั้นเป็น authoritative text เช่นกวีนิพนธ์เอกของโลกผู้แปลโวหารนั้นควรแปลตามตัวอักษรโดยใส่หมายเหตุเพื่อชี้แจงข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ และข้อสุดท้าย 4 . สืบค้นในงานเขียนอุปมาอุปไมยและอุปลักษณ์ในงานเขียนชนิดต่างๆในภาษาแปล ผู้เขียนอาจใช้โวหารอุปมาอุปไมยและอุปลักษณ์ 2 ชนิด คือ สำนวนโวหารที่นักเขียนคิดขึ้นเองและอุปมาอุปไมยที่อยู่ในภาษาตั้งแต่โบราณมา 

ซึ่งจะเห็นได้ว่าในการแปลบันเทิงคดีนั้นผู้แปลจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในการแปลในเรื่องเกี่ยวกับโวหารต่างๆอย่างมาก เพราะในการแปลงานบันเทิงคดีนั้นสิ่งที่ผู้แปลต้องใช้ คือ โวหารประเภทต่างๆเพื่อมาขยายและช่วยให้ผู้อ่านเกิดภาพจินตนาการมากขึ้นและที่สำคำการนำโวหารประเภทต่างๆมาช่วยในงานแปลนั้นจะทำให้งานแปลบันเทิงคดีมีความน่าสนใจมากยิ่งขึ้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น