วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
ในการแปลงานแปลที่ดีนั้นผู้แปลจะต้องแปลให้เป็นภาษาที่เป็นธรรมชาติที่สุดและความหมายในการแปลนั้นจะต้องไม่ผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับแปล การแปลงานแปลให้เป็นภาษาไทยที่เป็นธรรมชาตินั้นผู้แปลจะต้องแปลให้ผู้อ่านที่เป็นคนไทยอ่านซึ่งสามารถเข้าใจงานแปลนั้นได้โดยไม่มีข้อข้องใจใดๆ ในการแปลงานแปลนั้น มีองค์ประกอบต่างที่เกี่ยวข้องกับการแปลภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ คำ ความหมาย การสร้างคำ และสำนวนโวหาร ซึ่งสามารถอธิบายได้ดังนี้
คำและความหมาย คำบางคำมีความหมายแตกต่างกันอกไปมีทั้งความหมายตรงและความหมายแฝงหรือความหมายเปรียบเทียบ ซึ่งคำบางคำมีความหมายแตกต่างกันไปตามยุคต่างๆบางครั้งความหมายนั้นก็ตรงกันข้ามหรือบางครั้งก็มีความหมายไปในทางที่ดีและไม่ดี ในการพูดหรือการเขียนความหมายที่แสดงอารมณ์ อาจจะนำคำที่มีความหมายในทางลบมาทำให้เกิดความหมายในทางบวกได้ เช่น ใจดีเป็นบ้า คือใจดีมาก สวยอย่างร้าย คือ สวยมาก เก่งบรรลัย คือ เก่งมาก
การสร้างคำกริยา การเสริมท้ายคำด้วยคำกริยา เป็นการทำให้ความหมายของคำนั้นชัดเจนมากยิ่งขึ้น การเสริมท้ายคำกริยานั้นจะไม่ทำให้ความหมายเดิมเปลี่ยนไป  การเข้าคู่คำ คือการนำคำหลายคำมาเข้าคู่กันเพื่อให้ได้คำใหม่โดยอาจจะมีความหมายใหม่หรืออาจจะคงความหมายเดิม คู่คำพ้องความหมาย จะเป็นคำภาษาเดียวกัน หรือคำต่างประเทศก็ได้ แต่ความหมายจะยังคงเดิม เช่น ทรัพย์สิน เสื่อสาด สุขสบาย การงาน เป็นต้น คู่คำที่มีวามหมายตรงกันข้าม ส่วนใหญ่จะเกิดความหมายใหม่ เช่น คนมีคนจน ผู้หญิงผู้ชาย งานหนักงานเบา ข้อเท็จจริง เป็นต้น คู่คำที่มีความหมายต่างกัน เช่น ลูกเมีย ข้าวปลา เรือไอ ต้องใจ เป็นต้น
สำนวนโวหาร ในการแปลขั้นสูงนั้นผู้แปลจะต้องรู้จักการเขียนสำนวนโวหาร และการใช้โวหารแบบต่างๆเพราะถ้าไม่เข้าใจเมื่อนำมาเขียนก้อจะทำให้ความหมายนั้นไม่ชัดเจนตามไปด้วย ในการเขียนวรรณกรรมผู้เขียนมักจะใช้โวหารแปลกๆซับซ้อน เพื่อให้เกิดความบันเทิง สำนวนที่มีคำซ้ำ หมายถึง คำเดียวกันซ้ำกันได้ และคำที่มีความหมายเหมือนกัน การใช้คำซ้ำจะประกอบทั้งข้อดีและข้อเสีย ต้องระมัดระวังในการใช้คำซ้ำ ข้อดีของการใช้คำซ้ำคือ เพื่อความไพเราะ เพื่อให้มีความหมายอ่อนลง เพื่อให้ได้คำใหม่ๆ เพื่อแสดงว่ามีจำนวนมาก ปริมาก หรือเป็นพหูพจน์
โวหารภาพพจน์ เป็นโวหารที่ทำความเข้าใจยากเพราะบางครั้งผู้อ่านไม่สามารถที่จะจินตนาการได้ว่าสิ่งที่ผู้เขียนบรรยายนั้นหมายถึงอะไร โวหารอุปมา คือการสร้างภาพพจน์ด้วยการเปรียบเทียบโดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อจะชี้แจงอธิบาย หรือเสริมให้งดงามขึ้น โวหารชนิดนี้จะใช้คำเชื่อม เหมือนกับ ราวกับ ประดุจ ประหนึ่งและอื่นๆ
โวหารอุปลักษณ์ เป็นการเปรียบเทียบความหมายโดยนำความเหมือนกับความไม่เหมือนมากล่าว การเปรียบเทียบประเภทนี้แสดงให้เห็นถึงความเก่งของกวีเพราะจะเป็นการเลี่ยงใช้คำพื้นๆ ไปสู่คำที่ตื่นเต้นยิ่งกว่า เช่น วัยไฟ  คือ วัยรุ่น วินัยเหล็ก คือ วินัยที่ต้องปฏิบัติอย่างเข้มแข็ง โวหารเย้ยหยัน คือการใช้ถ้อยคำด้วยอารมณ์ขัน เพื่อยั่วล้อ เย้ยหยันเหน็บแนมหรือชี้ให้เห็นข้อบกพร่องและความไม่ฉลาดของสิ่งที่กล่าวถึง โวหารชนิดนี้ผู้แต่งจะแกล้งเป็นคนโง่ ดังนั้นความหมายที่แท้จริงคือเป็นคนฉลาดนั่นเอง เช่น ความชั่วของเธอน้ำทั้งมหาสมุทรก็ล้างไม่หมด ตัวเป็นไทยแต่ใจเป็นทาส เป็นต้น
โวหารขัดแย้ง คือการใช้คำที่มีความหมายตรงกันข้ามมาเรียงต่อกันโดยรักษาสมดุลไว้ เช่น รักษาจำนวนคำทั้งสองฝั่งให้เท่ากันไว้ เช่นคำว่า คนสูงตำหนิตัวเอง คนต่ำตำหนิผู้อื่น การศึกษานั้นคนเลวมองดู คนโง่ลงมือทำ คนฉลาดนำมาใช้ โวหารขัดแย้งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า paradox เป็นการกล่าวขัดแย้งกับความจริงหรือความเชื่อและความคิดเห็นของบุคคลทั่วไป
โวหารที่ใช้ส่วนหนึ่งแทนทั้งหมด (Metonymy)  การนำเอาคุณสมบัติเด่นๆของสิ่งใดสิ่งหนึ่งมาใช้แทนทีจะเอ่ยถึงสิ่งนั้นโดยตรง เช่น ปากกาคมกว่าดาบ บางครั้งการนำเอาคุณสมบัติมาใช้ก็ได้รับความนิยมจนกลายเป็นสัญลักษณ์ไป โวหารบุคลาธิษฐาน (Personification) คือการนำสิ่งที่ไม่มีชีวิต รวมทั้งความคิด การกระทำ และนามธรรมอื่นๆมากล่าวเหมือนเป็นบุคคล การใช้บุคคลาธิษฐานนี้นับเป็น Metaphor นิยมใช้มากที่สุดในบทร้อยกรอง วานเมฆว่าย ฟ้าไปเฝ้าน้อง จันทร์เอ่ยจันทร์เจ้า ขอข้าวขอแกง ขอแหวนทองแดงผูกมือน้องข้า เป็นต้น
โวหารที่กล่าวเกินจริง โวหารชนิดนี้มีจุดประสงค์ที่จะเน้นให้ความสำคัญ ชี้ให้ชัดเจนและเด่น และใช้เพื่อแสดงอารมณ์ที่รุนรุน ไม่ได้ต้องการอธิบายข้อเท็จจริง เช่น คิดถึงใจจะขาด หิวน้ำจนคอเป็นผง คอยนานตั้งปี ลักษณะที่ดีของโวหาร ถูกหลักภาษา ไม่กำกวม มีชีวิตชีวา สมเหตุสมผล และคมคายเฉียบแหลม
จะเห็นได้ว่าถ้าหากเราจะเป็นผู้แปลที่ดีได้นั้นเราต้องแปลภาษาไทยให้ออกมาเป็นภาษาที่เป็นธรรมชาติที่สุดโดยการอาศัยองค์ประกอบดังที่ได้กล่าวมาเบื้องต้น ซึ่งนอกจากนั้นแล้วการที่จะแปลภาษาให้ได้สวยงาม ราต้องอาศัยการศึกษาหารประเภทต่างๆเพื่อมาช่วยให้งานแปลของเรานั้นออกมามีคุณภาพและดึงดูดความสนใจของผู้อ่านงานแปลของเราได้มากยิ่งขึ้นด้วย


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น