วันพุธที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2558

บทที่ 1 ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล

บทที่ 1
ความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับการแปล
ความสำคัญของการแปล
ในปัจจุบันภาษาอังกฤษถือเป็นภาษากลางที่ใช้ในการสื่อสารกันทั่วโลกไม่ว่าจะเป็นการด้านเดินทาง การทำงานและในสาขาวิชาชีพต่างๆ การแปลจึงมีความสำคัญมากสำหรับการใช้ชีวิตในปัจจุบัน เพราะการแปลจะช่วยให้เราสามารถเข้าใจและทำงานติดต่อกับชาวต่างชาติได้ง่ายขึ้น ซึ่งการแปลสามารถยึดเป็นอาชีพและเป็นอาชีพที่สร้างความเจริญก้าวหน้าได้ดี
                การใช้ภาษาอังกฤษในหน่วยงานต่างๆ
1.       หน่วยงานต่างๆได้ขยายปริมาณ
2.       มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศเพิ่มมากขึ้นและใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักไม่ว่าจะเป็นเอกสารและการประชาสัมพันธ์
3.       มีตำราเอกสารภาษาอังกฤษซึ่งเป็นวิทยาการหลายสาขา
การแปลในประเทศไทย
เริ่มมาตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชสั่งโกษาปานไปเฝ้าพระเจ้าหลุยส์แห่งฝรั่งเศส จึงมีการฝึกนักแปลประจำราชำนัก และในสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้มีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศ
การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเริ่มมีบทบาทตั้งแต่มีความก้าวหน้ามายังประเทศไทย ทำให้มีการติดต่อและการเดินทางที่สะดวกและรวดเร็ว การแปลจึงมีความต้องการมากขึ้นโดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา การแปลช่วยลดความไม่เข้าใจวัฒนธรรมที่มีความแตกต่างกันช่วยสร้างความเข้าใจระหว่างชาติ ทำให้เกิดสันติภาพในโลก
ประเทศมีตัวแทนในการค้าขายจากผู้เชี่ยวชาญต่างประเทศและที่ปรึกษาชาวต่างประเทศในการพัฒนาต่างประเทศในด้านต่างๆ ทำให้การแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยมีความสำคัญเพิ่มขึ้น
ดังนั้นงานทุกอย่างจึงต้องมีการแปลเป็นภาษาไทยให้มากที่สุด เพื่อเป็นการสร้างความเข้าใจระหว่างประเทศ ประชาชน สังคม และวัฒนธรรม ที่แตกต่างกันของประเทศต่างๆ
การแปลทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
ผู้แปลจะต้องเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและมีนักภาษาด้วย และอีกประการหนึ่งการแปลมีปัญหาอยู่มากเนื่องจากขาดความรู้พื้นฐานทางวัฒนธรรม การแปลเป็นเรื่องที่จำเป็นจึงต้องมีกลุ่มนักแปลที่มีความรู้ในสาขานั้นๆกับนักภาษาที่สนใจภาษาด้วย ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงประโยชน์การใช้คุ้มกับเวลาที่จะใช้ในการแปลด้วย
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย
การสอนแปลในระดับมหาวิทยาลัย เป็นการสอนไวยากรณ์ และโครงสร้างของภาษา รวมทั้งการอ่านทำความเข้าใจ ผู้ที่จะแปลจะต้องมีความรู้ทางภาษาที่ดีแล้ว

การแปล คือ
การแปลคือการถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยมีใจความครบถ้วนสมบูรณ์ตามต้นฉบับ อีกทั้งควรรักษาให้ได้รูปแบบตรงตามต้นฉบับและเป็นการถ่ายทอดความรู้ทางด้านภาษา และความคิดสร้างสรรค์ของแต่ละบุคคลเพื่อให้งานแปลนั้นมีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
คุณสมบัติของผู้แปล
1.       เป็นผู้รู้ภาษาอย่างดีเลิศ
2.       สามารถถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่นเข้าใจ
3.       เป็นผู้มีศิลปะในการใช้ภาษา
4.       เป็นผู้เรียนวิชาภาษาและวรรณคดี หรือภาษาศาสตร์
5.       เป็นผู้รอบรู้
6.       เป็นผู้อดทนและเสียสละ
จุดมุ่งหมายของผู้สอนแปลคือ  สอนฝึกและผลิตนักแปลที่มีคุณภาพแก่สังคม
นักแปลที่มีคุณภาพ หมายถึง นักแปลจะต้องมีความรู้ภาษาของต้นฉบับ (Source Language)  และภาษาที่ใช้แปล (Target Language)  เป็นอย่างดี จึงควรฝึกแปลเป็นภาษาต่างประเทศเป็นภาษาแม่ (Mother Tongue)  ดังนั้นการแปลจึงเน้นความสำคัญของการแปลจากภาษาต่างประเทศเป็นภาษาไทย (one-way translator)
วัตถุประสงค์ของการแปล
1.       ฝึกผลิตนักแปลที่มีคุณภาพให้ออกไปรับใช้สังคมในด้านต่างๆ
2.       ตามทฤษฎีการแปลเป็นวิชาที่เกี่ยวเนื่องกับ 2 ทักษะ คือ ทักษะในการอ่านและทักษะในการเขียน ผู้แปลจะต้องอ่านเข้าใจ สามารถจับใจความสำคัญได้ และสามารถถ่ายทอดความเข้าใจนั้นออกมาเป็นลายลักษณ์อักษรได้ และต้องมีการฝึกปฏิบัติอย่างเข้มข้นจนเกิดความชำนาญ
3.       ผู้แปลจะต้องเป็นผู้อ่านอย่างกว้างขวาง ทั้งนี้เพราะจะสามารถถ่ายทอดความคิดจากภาษาหนึ่งไปยังอีภาษาหนึ่ง เป็นกระบวนที่ซับซ้อนมาก ผู้แปลจึงต้องเป็นผู้มีประสบการณ์
ดังนั้น การแปลที่ดีจะต้องถ่ายทอดความหมายของต้นฉบับได้อย่างถูกต้อง สวยงาม จนผู้อ่านไม่สามารถรู้ได้ว่ากำลังอ่านการแปล ผู้แปลจะต้องมีศิลปะที่จะซ่อนเร้นร่องรอยของการแปลอย่างมิดชิด
บทบาทของการแปล
การแปลมีบทบาทสำคัญมาก เพราะผู้แปลจะต้องเป็นตัวกลางระหว่างผู้ส่งสารและผู้รับสาร ซึ่งในการส่งสารแบบนี้จะต้องประสบกับความแตกต่างทั้งในด้านการใช้ภาษา ความรู้ อาชีพ สังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียน และประเพณี
ลักษณะของงานแปลที่ดี
ควรจะมีเนื้อหาข้อเท็จจริงตามต้นฉบับใช้ภาษาที่ชัดเจนกระชับความ ใช้รูปประโยคสั้นๆ แสดงความคิดเห็นชัดเจน ใช้ภาษาเปรียบเทียบได้เหมาะสม และรักษารูปแบบการเขียนของผู้แต่งงานต้นฉบับไว้ และมีการปรับแต่งถ้อยคำให้กับกับสภาพสังคมเพื่อให้ผู้อ่านเกิดความเข้า
ลักษณะงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ดี
1.       ภาษาไทยที่ใช้แปลต้องเป็นธรรมชาติ
2.       เน้นความชัดเจนของภาษาเป็นสำคัญ
3.       ใช้การแปลแบบตีความ แปลแบบเก็บความเรียงและเขียนใหม่ ไม่แปลแบบคำต่อคำ
การให้ความหมายในการแปล
1.       การแปลที่ใช้รูปประโยคต่างกันแต่มีความหมายอย่างเดียวกัน
2.       การตีความจากบริบทต่างๆ อาจจะดูจากสิ่งของ รูปภาพ ตลอดจนการกระทำสถานภาพต่างๆ
การแปลอังกฤษเป็นไทยต้องคำนึงถึงความหมาย    ดังนี้
1.       อนาคตกาล การแปลที่ดีต้องเปรียบเทียบระหว่างปัจจุบันกาล และอนาคตกาล
2.       โครงสร้างประโยคอื่นๆ ในการแปลภาษาอังกฤษ รวมทั้งโครงสร้างของไวยากรณ์
3.       ศัพท์เฉพาะ การแปลความหมายตามศัพท์จะดูง่าย
4.       ตีความทำนาย การแปลข้ามภาษาจะต้องคำนึงถึงความหมายทั่วๆไป มากกว่าการให้คำเหมือน หรือให้ความหมายเหมือนกับในรูปประโยคที่ต่างกันในภาษาเดียวกัน
การแปลกับการตีความจากบริบท
ความใกล้เคียง และความคิดรวบยอด ไม่ใช่การแปลแบบให้ความหมายเดียวกันในรูปประโยคที่ต่างกัน แต่ให้ดูสถานภาพ ที่เป็นที่อยู่ของข้อความนั้น ดังนั้นผู้แปลจึงต้องทำให้นามธรรมออกมาเป็นความคิดรวบยอดจากรูปภาพ
การวิเคราะห์จากความหมาย
1.       องค์ประกอบของความหมาย
1.1   คำศัพท์
1.2   ไวยากรณ์
1.3   เสียง
2.       ความหมายและรูปแบบ
2.1   ในแต่ละภาษา ความหมายหนึ่งอาจะแสดงได้หลายรูปแบบ
2.2   รูปแบบเดียวอาจจะมีหลายความหมาย
3.       ประเภทของความหมาย
3.1   ความหมายอ้างอิง ความหมายที่กล่าวอ้างโดยตรงถึงสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ทั้งที่เป็นรูปธรรม และนามธรรม
3.2   ความหมายการแปล ความรู้สึกทางอารมณ์ของผู้อ่าน ผู้ฟัง ซึ่งอาจจะมีความหมายทางบวกหรือทางลบขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมของภาษา
3.3   ความหมายของปริบท รูปแบหนึ่งๆของภาษาจะมีได้หลายความหมาย ต้องพิจารณาปริบทจึงจะรู้ความหมายของผู้สื่อ
4.       ความหมายเชิงอุปมา เป็นความหมายจากการเปรียบเทียบ องค์ประกอบของการเรียบเทียบ
4.1   สิ่งที่นำมาเปรียบเทียบ
4.2   สิ่งที่ถูกเปรียบเทียบ
4.3   ประเด็นของการเปรียบเทียบ
การเลือกบทแปล
เลือกตามวัตถุประสงค์ของการสอนแปล โดยคำนึงถึงการทำให้ผู้เรียนได้มีโอกาสตระหนักถึงความบกพร่องต่างๆ
เรื่องที่จะแปล
เรื่องที่จะนำมาแปลมีหลายสาขา จะต้องเลือกว่าจะต้องแปลสาขาใด ซึ่งจะทำให้คนมีความรู้ทันสมัย การแปลหนังสือวิชาการสาขาต่างๆจะเป็นการกำจัดอุปสรรค ความรู้ภาษาต่างประเทศไม่ดีพอ และจะสามารถแสวงหาความรู้ได้อย่างกว้างขวางและลึกซึ้ง การแปลจึงควรเลือกหนังสือที่เป็นหลักวิชาที่ยอมรับกันในสาขานั้นๆ การเลือกหนังสือที่จะแปล
1.       เป็นเรื่องที่เลือกเฟ้น
2.       เรียบเรียงให้ถูกต้องทันกับสากล ตลอดจนความละเมียดละไมลึกซึ้ง
3.       ใช้ภาษาที่แปลอย่างถูกต้อง







ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น