วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559


หลักการแปลวรรณกรรม
                ถ้าพูดถึงเรื่องงานแปลแล้วการแปลนั้นประกอบด้วยกันประเภทต่างๆมากมายหลายประเภท ซึ่งมนการแปลนั้นเรามีหลักการต่างๆที่เราจำเป็นต้องศึกษาเรียนรู้และทำความเข้าใจในเรื่องนั้นๆด้วย เช่นในการแปลวรรณกรรมเราก็ต้องศึกษาเรื่องราวหลักการของการแปลวรรณกรรมว่าเราต้องดำเนินการแปลเรื่องราวนั้นๆอย่างไรถึงจะแปลเรื่องราวต่างๆได้อย่างถูกต้อง
                วรรณกรรม หมายถึง หนังสือที่แต่งขึ้นด้วยความคิดสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง ไม่ว่าจะเป็นผลงานของกวีโบราณหรือกวีคนปัจจุบัน ซึ่งคงจะรวมถึงสิ่งที่เราเรียกว่า วรรณคดี ตามปกติวรรณกรรมเป็นงานเขียนที่จัดไว้ในประเภท บันเทิงคดี  ในการแปลงานแปลที่เลือกมาศึกษาคือการแปล   นวนิยาย เรื่องสั้น นิทาน นิยาย บทละคร การ์ตูน บทภาพยนตร์ บทเพลง เป็นวรรณกรรมประเภทบันเทิงคดี ซึ่งวรรณกรรมเหล่านี้มุ่งหวังให้ผู้อ่านได้รับความบันเทิงสนุกสนาน
                ในการแปลเรื่องต่างๆสิ่งที่สำคัญที่สุดที่ต้องคงไว้คือ ความหมายเดิมไว้ให้ครบถ้วนถูกต้องไม่แปรเปลี่ยนรวมทั้งการรักษารสของความหมายเดิมไว้ด้วยเช่นกัน เช่น รสรัก เศร้าโศก ขมขื่น เบื่อหน่าย เป็นต้น การรักษาความหมายเดิมนั้นเป็นหัวใจที่สำคัญของการแปลงานบันเทิงคดีรวมทั้งงานแปลอื่นๆด้วยไม่ว่าจะเป็นงานแปลประเภทใดหากเราบทแปลมาแปลแล้วเราก็ต้องรักษาความความคงเดิมของต้นฉบับไว้ให้ได้ดีที่สุด
                หลักการแปลนวนิยาย นวนิยายเป็นงานแปลที่เป็นที่นิยมและแพร่หลายมากกว่าหนังสือบันเทิงประเภทอื่นๆซึ่งผู้แปลนั้นมีความสำคัญเท่าๆกับผู้แต่งเพราะการแปลนวนิยายออกมาดีก็จะนำพาชื่อเสียงมาสู่ผู้แปลด้วยเช่นกัน คุณค่าของวรรณกรรมนั้นอู่ที่ศิลปะในการใช้ภาษาของผู้แปลที่สามารถค้นหาถ้อยคำสำนวนสละสลวยไพเราะสอดคล้องได้อย่างดี หลักที่สำคัญในการแปลนวนิยายสามารถทำได้ดังต่อไปนี้
                การแปลชื่อเรื่องของวรรณกรรม ชื่อเรื่องเป็นสิ่งที่สำคัญอันดับแรก เพราะผู้แต่งนั้นพิถีพิถันในการตั้งมากที่สุด เพื่อเป็นการกระตุ้นความสนใจของผู้อ่าน การแปลชื่อเรื่องนั้นเปรียบเสมือนใบหน้าของคนเรา ดังนั้นการแปลชื่อเรื่องจึงต้องมีความละเอียดด้วย หลักการแปลชื่อเรื่องประกอบด้วยกัน 4 แบบ คือ แบบที่ 1 ไม่แปล ใช้วิธีการทับศัพท์ เช่น   แบบที่ 2 แปลตรงตัว ถ้าชื่อต้นฉบับมีคามสมบูรณ์อยู่แล้วก็สามารถที่จะแปลตรงตัวได้เลย เช่น Spirit Rebelious วิญณาณขบถ  , The  killer  ผู้พิฆาต เป็นต้น แบบที่ 3   แปลบางส่วนตัดบางส่วน จะใช้วิธีนี้เมื่อชื่อในต้นฉบับห้วนเกินไปไม่ดึงดูด และความหมายยังไม่เพียงพอ เช่น Gone with the Wind วิมานลอย , The Junggle ชีวิตเปลี่ยน เป็นต้น
                วรรณกรรมประเภทถัดไปคือ การแปลบทสนทนา การแปลบทสนทนานั้นเป็นสิ่งที่ยุ่งยากมากเพราะมีภาษาที่ต่างระดับกัน ซึ่งบางครั้งในหนึ่งบทสนทนานั้นจะมีทั้ง ภาษาราชาศัพท์ ภาษาสุภาพ ภาษาที่เป็นทางการ ภาษากันเอง เป็นต้น  การแปลบทสนทนานั้นเริ่มตั้งแต่ การแปลคำทักทาย เช่น How do you do? คุณสบายดีไหม , Good morning อรุณสวัสดิ์ เป็นต้น คำอำลา เช่น Good bye ลาก่อน ,God bless you ขอให้พระคุ้มครองคุณ เป็นต้น
 คำแสลง บทสนทนาบางบทจะมีคำแสลงแฝงอยู่ด้วยเสมอ คำแสลงคือคำที่ใช้เฉพาะกลุ่ม ใช้ในวงจำกัด แต่มีบางคำก็นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย เช่น die ตาย ,drunk เมา เป็นต้น และสุดท้ายคือ การตัดถ้อยคำให้สั้นลงทั้งภาษาไทยและอังกฤษ ในภาษาพูดมักจะนิยมตัดภาษาพูดให้สั้นลง เช่น Good morning จะตัดคำว่า Good ออก เหลือแต่ morning เป็นต้น ในการแปลบทสนทนานั้นสิ่งที่คัญที่สุดคือการแปลให้เป็นธรรมชาติ สอดคล้อกับสถานะของผู้พูดและโอกาสแต่ละโอกาส
การแปลบทบรรยาย เป็นข้อความที่เขียนเล่าเหตุการณ์ต่างๆสิ่งที่ยุ่งยากสำหรับการแปลบทบรรยาย คือ มีภาษาสองประเภทที่พบเจอคือ ภาษาในสังคม กับภาษาวรรณคดี ภาษาสังคม เป็นภาษาที่มนุษย์ใช้ในสังคมแต่ละวันซึ่งภาษาในสังคมนั้นบางครั้งก็มีความคล้าหรืออาจจะแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กีบต่ละสภาพสังคมต่างๆ ภาษาถิ่น เป็นสิ่งที่ต้องระวังมากในการแปล ความแตกต่างของภาษาถิ่นได้แก่ การใช้คำ ความหมายของคำ และการเรียงคำ
ภาษาวรรณคดี คือ ภาษาที่ใช้เขียนในวรรณกรรมประเภทต่างๆ เป็นที่ถูกต้องสมบูรณ์ทางไวยากรณ์ และความหมาย มีความไพเราะ ภาษาประเภทนี้ไม่นิยมมาใช้พูดในปัจจุบัน ภาษาระดับนี้คำนึงถึง ลีลาการเขียน ที่เป็นลักษณะเฉพาะของผู้เขียน ตัวอย่างการแปลลีลา ภาษาวรรณกรรม One should know (the sincerity of) a friend in calamities, a warrior in battle, an honest man when in debt, a wife when fortune declines and relatives in difficulties. แปลได้เป็น ในเมื่อวิบัติจะเห็นใจมิตร, ในสมัยศึกประชิดจะเห็นใจทหาร, ในเวลาให้กู้ทรัพยสารจะเห็นใจผู้ซื่อสะอาด, ในยามสมบัติวินาศจะเห็นใจภริยา, ในคราวอนาถาจะเห็นใจญาติ (หิโตปเทศ)  เป็นต้น
ในการแปลวรรณกรรมมีขั้นตอนการแปล ดังนี้ อ่านเรื่องราวให้เข้าใจตลอด และสามารถจับใจความสำคัญของเรื่องได้ ถัดไปคือ วิเคราะห์ถ้อยคำสำนวน ค้นหาคำศัพท์ที่ไม่เคยรู้จัก และทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมของการเขียน สิ่งสุดท้ายคือ ลงมือแปลเป็นภาษาไทยด้วยถ้อยคำสำนวนที่เรียบง่าย อ่านเข้าใจง่าย และชัดเจน โดยเฉพาะการใช้ภาษาไทยที่เป็นธรรมชาติ
หลักการแปลบทละคร บทละครคือ วรรณกรรมการแสดง ถ้าไม่มีดนตรีเรียกว่า บทละครพูด ถ้ามีดนตรีก็จะเรียกว่า ละครร้อง ละครรำ เป็นต้น บทละครที่กล่าวถึงในการแปลนั้น จะหมายถึงละครโศก ละครชวนขัน ละครโอเปร่าหรืออุปรากร และบทละครที่แสดงบนเวทีการแปลบทละครนั้นปฏิบัติเหมือนการแปลนวนิยาย เรื่องสั้น คือ เริ่มด้วยการอ่านทำความเข้าใจเรื่องหาความหมายและคำแปลแล้วจึงเขียนบทแปลด้วยภาษาที่เหมาะสม
หลักการแปลภาพยนตร์ ภาพยนตร์ที่จะนำมาแปลนั้นถ่ายถอดเป็นบทเขียนก่อน จุดประสงค์ของภาพยนตร์แปล คือ นำบทแปลไปพากย์ หรืออัดเสียงในฟิล์ม ผู้ฟังจะได้ยินเสียงพูดที่เป็นภาษาไทย ถัดไปคือ นำบทแปลไปเขียนในคำบรรยายฟิล์มดั้งเดิม ผู้ฟังจะได้ยินเสียงเดิมของนักแปล และเห็นคำแปลพร้อมกันบทแปลภาพยนตร์เป็นข้อเขียนมีจุดประสงค์นำไปแสดงบทภาพยนตร์มีจุดประสงค์ที่จะนำไปแสดงผู้แปลจะต้องตระหนักในลักษณะเฉพาะของบทแปลภาพยนตร์เพื่อป้องกันไม่ให้มีความผิดพลาดเข้าใจผิดในการแปล
หลักการแปลนิทาน นิยาย วิธีการแปลนั้นดำเนินตามขั้นตอนเดียวกับการแปลวรรณกรรมประเภทอื่นๆ คือ การอ่านต้นฉบับนิทาน ครั้งแรกอ่านเร็วเพื่อทำความเข้าใจเนื้อเรื่องของนิทาน อ่านครั้งต่อไปช้าๆ ค้นหาความหมายและแปล ถัดไปคือ การเขียนบทแปลในการแปลนั้นจะใช้ภาษาระดับกลางในการแปล การแปลเรื่องเล่า วิธีการแปลนั้นดำเนินตามขั้นตอนเดียวกับการแปลวรรณกรรมประเภทอื่นๆ คือ การอ่านต้นฉบับของเรื่อง หลายๆครั้ง และสามารถตอบคำถามได้ว่า ใคร ทำอะไร ถัดไปเป็นการเขียนบทแปล ในการแปลนั้นใช้ภาษาระดับกลาง มีความกำกวม
หลักการแปลการ์ตูน คือ การใช้คำแปลที่สั้นชัดเจนเข้าใจง่ายหรือสื่อความหมายได้สามารถจำกัดจำนวนคำให้อยู่ในกรอบคำพูดได้ ภาษาในบทสนทนาของการ์ตูนมีหลายระดับขึ้นอยู่กับตัวละครที่สร้างขึ้น การแปลนั้นผู้แปลควรระมัดระวังการใช้ภาษาในการแปลให้สอดคล้องกัน วิธีการแปลนั้น ดำเนินได้ตามขั้นตอนการแปลเรื่องสั้นนวนิยาและเรื่องสั้นอื่นๆ
หลักการแปลกวีนิพนธ์ ลักษณะของการแปลกวีนิพนธ์ แปลเป็นร้อยกรอง ผู้แปลส่วนใหญ่เมื่อแปลเนื้อหาสาระแล้วยังรักษาวิธีการนำเสนอที่ใกล้เคียงที่สุดกับต้นฉบับของตนโดยยังคงยึดหลักฉันทลักษณ์ไว้คงเมตามต้นฉบับแปล แปลเป็นร้อยแก้วที่ประณีต การแปลกวีนิพนธ์เป็นร้อยแก้วมีจุดประสงค์เพื่อการสื่อสารความคิดวัฒนธรรมอื่นๆ ปัญหาที่พบในการแปลวิทยานิพนธ์คือ ความเข้าใจ  และการเลือกใช้ถ้อยคำสำนวนที่ถูกต้องและเหมาะสม
จะเห็นได้ว่าหลักการแปลวรรณกรรมประเภทต่างๆนั้นจะมีขั้นตอนการแปลที่คล้ายกัน คือ จะต้องอ่านทำความเข้าใจเรื่องนั้นๆอย่างละเอียดและเลือกหาความหมายและคำศัพท์เพื่อที่จะทำความเข้าใจกับเรื่องราวนั้นๆถัดไปคือการเขียนบทแปลซึ่งบทแปลที่นำมาเขียนต้องแปลให้อ่านง่ายและเข้าใจง่าย ใช้ระดับภาษาที่เหมาะสมกับภาษาต้นฉบับเพื่อเรื่องที่แปลนั้นจะได้สอดคล้องและไม่ผิดเพี่ยนไปจากต้นฉบับ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น