วันพฤหัสบดีที่ 8 ตุลาคม พ.ศ. 2558


Learning log week 5
(ในห้องเรียน)
                ประโยคในภาษาอังกฤษมีมากมายหลายรูปแบบที่เคยได้ศึกษา  ซึ่งแต่ละประเภทมีลักษณะและการใช้ที่แตกต่างกัน  ประโยคในภาษาอังกฤษได้แก่  Simple Sentence , Compound Sentence, Complex Sentence และ Compound Complex Sentence ซึ่งนอกจากจะศึกษาเกี่ยวกับเรื่องประโยคแล้วอีกเรื่องหนึ่งก็คือ  เรื่อง อนุประโยค (clause)  ซึ่ง clause ที่ได้เลือกศึกษาคือ Adjective clause  ว่า clause ประเภทนี้มีลักษณะอย่างไร และมีการใช้อย่างไรและจาก Adjective clause สามารถที่จะทำให้เป็น Adjective phrase ได้ด้วยวิธีใดซึ่งจะได้ศึกษาจากการบันทึกการเรียนรู้ครั้งนี้
                ประโยคแรกที่เลือกศึกษาคือ Simple sentence คือ เอกัตถประโยค หมายถึง ประโยคที่มีใจความเดียว คือ มีประธานตัว (subject)และกริยา (verb) ตัวเดียว ประโยครูปแบบนี้จึงไม่ซับซ้อนและเข้าใจง่าย Simple sentence แบ่งออกเป็นประโยคย่อยได้อีก 5 รูปแบบ ได้แก่ ประโยคบอกเล่า (Declarative Sentence) เช่น I live in Bangkok. I love you. ประโยคปฏิเสธ (Negative sentence)  เช่น I don’t live in Bangkok. He isn’t able to speak French fluently. ประโยคคำถาม (Interrogative sentence )เช่น  Were you born in Bangkok? ประโยคขอร้อง ( Imperative sentence)  เช่น Please open the window. ประโยคอุทาน (Exclamatory sentence) เช่น How cold it is! There go the bus!
                ประโยคถัดไป คือ Compound sentence คือ เอนกัตถประโยค หมายถึง ประโยคที่เกิดจากการรวมประโยคความเดียวเข้าด้วยกันโดยประโยคที่ถูกรวเข้าด้วยกันนั้นก็ยังมีความเป็นอิสระ คือ เมื่อแยกออกจากกันก็ยังมีความหมายหรือจะรวมกันก็ได้ในการรวมกันจะอาศัยคำเชื่อมที่เรียกว่าตัวประสาน (Co-ordinator)  ได้แก่คำเหล่านี้ and,or,for,but และคำอื่นๆท่มีความหมายคล้ายกัน ตัวอย่างเช่น เป็น simple เพราะแยกกันอยู่ ได้แก่ He is poor. He is honest. และเป็น compound เพราะมีตัวประสานมาเชื่อม ได้แก่ He is poor but he is honest. และตัวประสานที่นำมาเชื่อมเพื่อให้เป็น compound ได้แก่ เครื่องหมายวรรคตอน(punctuation) , วิเศษณ์เชื่อม (conjunctive adverb),และสันธานประสาน (co-ordinate conjunction
การเชื่อมด้วยเครื่องหมายวรรคตอน (punctuation) นิยมใช้เชื่อม simple sentenceเพื่อให้เป็น compound sentence มีดังนี้ semo-colon (;) ใช้เชื่อมประโยคในกรณีที่ผู้เขียนไม่อยากขึ้นต้นประโยคใหม่ เช่น Dang was sick;he didn’t work yesterday. เครื่องหมายวรรคตอนถัดมาคือ colon (:) และ dash(-) 2 เครื่องหมายนี้ใช้เชื่อมในกรณีที่ผลของประโยคหลังมีสาเหตุมาจากประโยคหน้าโดยแท้จริง เช่น Dang was sick: he didn’t work yesterday.  หรือ Dang was sick- he didn’t work yesterday. นั่นคือการที่แดงไม่สบายทำให้เขาไม่ได้ทำงาน และเครื่องหมายสุดท้ายคือ comma (,) ใช้เชื่อมในกรณีที่เหตุการณ์ท่กล่าวนั้นจะขึ้นต้นประโยคใหม่จะทำให้ไม่ต่อเนื่องจึงต้องใช้ (,)  เชื่อมเพื่อไม่ให้ประโยคไม่ต่อเนื่อง เช่น I tooked around here. Sombat was writing a letter, Wichai was reading, Nipa was doing exercises.
                ตัวประสานที่สองคือ การเชื่อมด้วย Conjunctive Adverb แบ่งออกเป็น 2 ชนิด ชนิดที่เติมเข้ามาเพื่อเป็นการเน้นให้ผู้ฟังผู้อ่านได้ฉุกคิด คำเหล่านนี้ ได้แก่ however,  moreover , furthermore, consequently, therefore  เป็นต้น  เช่น John was sick; however , he did go to school. She was tried; and thirsty; moreover, she was cold.และชนิดคำที่มีความหมายเป็น Transitional  word   ซึ่งมีความหมายอ่อนลงมาก จนอาจใช้คำเสมือนเป็น Adverb ธรรมดาหรือ เหมือนคำ conjuctive ธรรมดา ไดแก่ คำเหล่านี้ Thus otherwise, still, hence,yet เช่น Do what you are told otherwise you’ll be punished. คำเหล่านี้จะใช้ (,) คั่นข้างหน้า
                ตัวเชื่อมสุดท้ายคือ การเชื่อมด้วย (Co-ordinate conjunction) แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ แบบรวมได้แก่ and และคำที่มีความหมายคล้ายกับ and เช่น  and…too, and…also, and also, as well as, เช่น Mary is tired and hungry, Mary is tired and hungry too, Mary is tired and hungry also. และแบบเลือก ได้แก่ or และคำที่มีความหมายคล้าย or  เช่น  or else, either…or, neither…nor, เช่น  He must go now, or he will miss plan. Either you or he has to do this.
แบบถัดไปคือ แบบแยก ได้แก่ but และคำที่มีความหมายคล้าย but ได้แก่ while, whereas, yet, still, เช่น Somrak  didn’t  work hard, but he passed his examination. , She is very beautiful, while all her sisters are ugly. และ แบบที่สี่ คือ แบบเชื่อมความซึ่งเป็นเหตุเป็นผลแก่กันและกัน ได้แก่ so และ คำที่มีความหมายคล้าย so ได้แก่ for, therefore, consequently, accordingly, เช่น  It’s  time to go, so let’s start our journey. , I want in ,for the door was open. , He was found quilty;  therefore , he was imprisoned.
                ประโยคที่ศึกษาถัดไปคือ  complex sentence  คือ สังกรประโยค หมายถึง ประโยคที่เกิดจากการรวมประโยคความเดียวเข้าด้วยกันโดยอาศัยตัวเชื่อมที่เรียกว่า คำเชื่อมซ้อม (sub - ordinator) ประโยคย่อยที่นำมารวมกันจะมีความสำคัญไม่เท่ากัน คือ ไม่สามารถแยกออกไปอยู่อิสระได้เนื่องจากเนื้อหาไม่สมบูรณ์  ประโยคย่อยที่ทำให้เกิดประโยคความซ้อนแบ่งได้สองส่วน คือ ประโยคหลัก (principle clause)  เมื่ออ่านจะได้เนื้อหาสมบูรณ์ในตัวมันเอง  และอีกประโยคคือ ประโยคแฝง (subordinate clause)  จะอ่านไม่ได้ความหมาย เช่น  This is the house that  Jack bought last year.
                คำเชื่อมที่ใช้เชื่อมในประโยคให้เป็น  complex sentence  ได้แก่คำเชื่อมเหล่านี้  ใช้คำเชื่อมหรือใช้คำแฝง (subordinate conjunction)  ได้แก่ if, since, because, that เช่น  He is unhappy because he is very poor. , She said that she would come back soon. และใช้ประพันธ์สรรพนาม (relative pronoun) ได้แก่คำเหล่านี้  who, whom, whose, which, that as, but, what, where, of which, เช่น There was no one but admired him. และใช้สรรพนามวิเศษณ์ (relative adverb ) ได้แก่   when, whenever, where, why, wherever, how, เช่น I don’t know when she arrives here. , she will go wherever she likes.
                ประโยคประเภทสุดท้ายคือ compound complex sentence คือ อเนกัตถสังกรประโยค หมายถึง ประโยคที่เกิดจากการรวมเอาประโยคความซ้อนเข้ามาหรือเป็นประโยคความซ้อนที่เกิดจากการรวมประโยคความรวม เช่น This and that are the house that Prasit built. ประโยคดังกล่าวเป็นการรวมประโยคความซ้อน 2 ประโยคเข้าด้วยกัน คือ This is the house that Prasit built. และ That is the house that prasit built.  ประโยคความซ้อนเชื่อมกันด้วย and กลายเป็นประโยคผสม
                เรื่องต่อไปที่จะศึกษา คือ Adjective clause หมายถึง อนุประโยค  ที่เป็นคุณศัพท์ขยายนาม หรือขยายคำเสมอนามได้เช่นเดียวกับ Adjective ธรรมดา  แต่การขยายด้วย Adjective  clause จะทำให้หนักแน่นและเด่นชัดกว่าการขยายด้วย Adjective ธรรมดา ลักษณะประโยคของ Adjective clause จะนำหน้าด้วย คำเชื่อมสัมพันธ์ (relative words)  ซึ่งได้แก่คำเหล่านี้  who, whose, whom, which, of which, that, as, but,และrelative adverb where, why, when
                Relative Pronoun แปลว่า ประพันธ์สรรพนาม หมายถึง สรรพนามที่ใช้แทนนามที่อยู่ข้างหน้า และในขณะเดียวกันก็ทำหน้าที่เชื่อมประโยคหน้าหลังให้สัมพันธ์กัน หรือเป็นประธานหรือเป็นกรรมของประโยคหลังได้ด้วย Relative Pronoun ที่นิยมใช้ ได้แก่  who, whose, whom, which , where, why, when, what และ that คำเหล่านี้เมื่อใช้เป็น Relative Pronoun แล้วจะไม่แปลความหมายตามเดิมของมัน เช่น Who ใช้แทนนามที่เป็น บุคคลและบุคคลนั้นต้องเป็นผู้กระทำจึงจะใช้who เช่น He is the postman who brings a letter for us at home.
                Relative Adverb  แปลว่า กริยาวิเศษณ์สันธาน ทำหน้าที่เป็นคำกริยาวิเศษณ์ขยายกริยาในประโยคของตัวเอง และในเวลาเดียวกันก็ทำหน้าที่เป็น conjunction  เชื่อมข้อความของประโยคหนกับหลังให้กลมกลืนกันอีกด้วย เพราะฉะนั้นจึงใช้ตามความหมายนี้ว่าเป็น Conjunction Adverb   และแบ่งออกเป็น 6 ชนิด ได้แก่ Conjunction Adverb of time ได้แก่ when สันธานวิเศษณ์บอกเวลา เช่น Can you tell me when he will arrive here? Conjunction Adverb of place สันธานวิเศษณ์บอกสถานที่ ได้แก่ where เช่น  This is where I stayed last year.               สันธานวิเศษณ์ชนิดต่อไปคือ Conjunction Adverb of frequency สันธานวิเศษณ์บอกความถี่ เช่น I ask him how often he had gone there. Conjunction Adverb of manner  สันธานวิเศษณ์บอกอาการ เช่น My father knows how I shot the tiger. Conjunction Adverb of quantity (or degree) สันธานวอเศษณ์บอกปริมาณ ได้แก่ how long, how far, เช่น No one knows how long she will live with him. , The police wonder how far this man can tell the truth. และ Conjunction Adverb of reason (or cause) สันธานบอกเหตุผล เช่น Panya did not to know why she cry. , I want to know why she said like that.
                การทำ Adjective Clauseให้เป็น  Adjective Phrase สามรถทำได้โดยการลดรูป คำนำหน้า who, which, และ that ที่ทำหน้าที่เป็นประธานของ Adjective Clause สามารถลดรูปเป็นกลุ่มคำดังนี้ Appositive noun phrase  Adjective Clause ซึ่งมี who, which, และ that เป็นประธานสามารถลดรูปได้หากหลัง who, which, และ that มี BE ออก เมื่อลดรูปจะเป็น กลุ่มคำนาม เช่น Prof. Chakarin, who is my thesis advise, will retire next year. เมื่อลดรูปจะเป็น Prof. Chakarin, my thesis advise, will retire next year.
                กลุ่มคำต่อไปนี้ได้แก่  Prepositional phrase สามารถลดรูปได้หาก หลัง who, which, และ that มีคำกริยาบุพบท ถ้าตัดออกแล้วเหลือแต่บุพบทยังมีความหมายเหมือนเดิม เช่น  The lady who is dressed in the national costume is beautiful queen.  เมื่อลดรูปได้แก่ The lady in the national costume is beautiful queen. กลุ่มคำที่สามคือ Infinitive Phrase ลดรูปได้หากข้างหลังมีกริยาในรูป BE+ Infinitive with toเช่น  He is the first person who is to be blamed for the violency yesterday. เมื่อลดรูปเป็น He is the first person to be  blamed for the violency yesterday.
                กลุ่มคำสุดท้ายคือ  Participial phrase สามารถลดรูปได้ หากหลัง who มีกริยาแท้ลดรูปโดยตัด who และเปลี่ยนกริยาหลัง who เป็น present participle (v-ing ) เช่น The school students who visits the national museum were very excited. ลดรูปเป็น The school students visiting the national museum were very excited. และ past participle phrase สามารถลดรูปได้หากหลัง which ,who  มีกริยาในรูป passive form (BE+ past participle ) ลดรูปโดยตัด which\ who \BE เหลือแต่ past participle เช่น The money which was lost during the trip was returned to its owner. The money lost during the trip was returned to its owner.
                สรุปจากการศึกษาประเภทของประโยคมีทั้งหมด 4 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทมีความเกี่ยวเนื่องกัน เช่น  simple sentence  สามารถเป็น compound sentence ได้โดยการใช้ตัวเชื่อมประเภทต่างๆ ได้หลายประเภท และการศึกษา Adjective clause  สามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ Relative Pronoun , Relative Adverb ซึ่งคำเหล่านี้ใช้ขยายคำนามและคำกริยาในประโยคให้มีความชัดเจนยิ่งขึ้นและจากการศึกษา  Adjective clauseเป็น Adjective phrase สามารถทำได้โดยวิธีการต่างๆดังได้นำเสนอไว้แล้วข้างต้น  ซึ่งจากการศึกษาทั้งหมดสามารถนำไปใช้เชื่อมโยงกับเรื่องการแปลทำให้สามารถแปลประโยคได้ใจความครบถ้วนสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น


                

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น