วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learning log Week 2


Learning  log  Week  2

จากการศึกษาภายในชั้นเรียนดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับ  KWL  ซึ่งเป็นการประเมินตนเอง  Metacognition  และแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอน  2  ปี  ที่ผ่านมา  และหลักในการเรียนภาษาที่ดีควรเป็นอย่างไรและการศึกษานอกชั้นเรียน ได้อ่านทำความเข้าใจเกี่ยวกับ  กลยุทธ์ในการเรียนภาษาที่จะนำมาใช้ในการเรียนของตนเองเพื่อที่จะเป็นแนวทางและนำไปปฏิบัติ
ในการศึกษาของเรานั้นจะต้องบอกตัวเองให้ได้ว่าตัวเรามี  KWL  แล้วหรือยังเพื่อที่จะเป็นการประเมินตนเองว่าตัวเรารู้หรือไม่รู้เรื่องใด
            K       =        What   you    know                        รู้อะไร
            W      =        What   you  want   to  know             ต้องการรู้อะไร
            L        =        What   you  have   to  learn             จะเรียนอะไร
และได้มีการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจในการสอนของอาจารย์ในหลักสูตร  ปรากฏว่าเพื่อนๆส่วนใหญ่ชอบวิธีการสอนในบรรยากาศที่ไม่ตึงเครียดมีความสนุกสนาน  อาจารย์ไม่ได้แค่เพียงเนื้อหาในหนังสือเท่านั้นแต่ยังสอดแทรกวิธีการคิดและการดำเนินชีวิตในแต่ละวันด้วย  และได้มีการสำรวจตัวเองเกี่ยวกับความรู้ของตัวเองตั้งแต่เริ่มเข้ามาเรียนที่มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช  ว่าเราได้รับความรู้อะไรบ้างปรากฏว่าทั้งเพื่อนๆและตัวดิฉันมีความรู้เพิ่มเติมกันไม่มากก็น้อยไม่ว่าจะเป็นทักษะทางการฟัง  พูด  อ่าน  เขียน  ในการเรียนภาษาที่ดีได้นั้นจะต้องมีหลักการที่จะช่วยทำให้เราเรียนภาษาได้ดีขึ้นมีอยู่  2 ทางด้วยกัน  คือ  1.  ผู้ส่งสารส่งสารไปแล้วผู้รับสารสามารถตอบกลับได้  แสดงว่าผู้รับสารรู้เรื่องเข้าใจ  2.  ส่งสารไปแล้วผู้รับสารไม่มีการตอบกลับถือเป็นถือเป็นการส่งสารทางเดียว  ผู้ส่งสารไม่สามารถรู้ได้ว่าสารเข้าใจหรือไม่ซึ่งสิ่งที่จะช่วยทำให้ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารสื่อสารกันได้รู้เรื่องจะต้องมีกลยุทธ์ในการเรียนรู้  ภาษาเป็นแนวทางให้กับเรา
            กลยุทธ์การเรียนภาษา  เขียนโดย  รศ.ดร.  สมศีล  ฌานวังศะ  กล่าวไว้ว่า  การเรียนภาษาแตกต่างจากการเรียนวิชาอื่นๆเป็นส่วนใหญ่  ตรงที่ว่าต้องมีสองด้านควบคู่กันไป  คือ  ความรู้และทักษะ  ความรู้เป็นภาคทฤษฎี  ส่วนทักษะ(หรือความชำนาญที่เกิดจากการฝึกฝน)  เป็นภาคปฏิบัติ  การเรียนแต่ภาคทฤษฎีโดยไม่ฝึกปฏิบัติย่อมไม่อาจทำให้บรรลุเป้าหมายคือสามารถใช้ภาษาได้”  การเรียนภาษาให้ได้ดีต้องเริ่มต้นจากตัวผู้เรียนเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีที่สุดซึ่งถ้าผู้เรียนจะเรียนให้ได้ดีนั้นต้องมีกลยุทธ์ในการเรียนภาษาดังนี้  1.  ศึกษา  การเรียนภาษาจะต้องเริ่มจากความรู้เกี่ยวกับตัวภาษาก่อนโดยตรงเสมอเปรียบเสมือนเสหลักมีอยู่สองด้น  คือ  ศัพท์  กับไวยากรณ์  นอกจากตัวภาษาแล้วยังมีอีกสองด้าน  คือ  ความรู้พื้นฐานของธรรมชาติของภาษา  กับความรู้เกี่ยวกับสังคมและวัฒนธรรมของชนชาติเจ้าของภาษา  2.  ฝึกฝน  จำต้องผ่านอินทรีย์  ทั้ง  6  ด้าน  คือ   ตา-ดู , หู-ฟัง,  ปาก-พูด  ,มือ-เขียน, หัว-คิด  ใ,-รัก  3.  สังเกต  ภาษาอังกฤษมีเนื้อหามาก  ผู้เรียนจึงต้องเป็นคนช่างสังเกตละเอียดรอบคอบ  4.  จดจำ  การเรียนภาษาแค่การฝึกฝนอย่างเดียวไม่พอแต่ต้องอาศัยการท่องจำด้วยเพื่อให้เกิดผล  5.  เลียนแบบ  6.  ดัดแปลง  เมื่อเลียนแบบก็ต้องรู้จักดัดแปลงให้เข้ากับเหตุการณ์และวัตถุประสงค์  7.  วิเคราะห์  การวิเคราะห์มี  3 ระดับ  1)  ระดับศัพท์  2)  ระดับไวยากรณ์  3)  ระดับถ้อยความ 
8.  ค้นคว้า   9. ใช้งาน   จากสิ่งที่ได้เรียนรู้มา  10.  ปรับปรุง  เป็นการพัฒนาการใช้ภาษาและความก้าวหน้าในการใช้ภาษานั้นๆ
            สรุปได้ว่าถ้าเราจะเรียนภาษาได้ดีนั้นเราจะต้องประเมินตัวเองก่อนว่าเรามีความรู้หรือไม่รู้ในเรื่องนั้นๆมากน้อยเพียงใดและมีหลักในการเรียนภาษาที่ดี  คือ  ทั้งผู้ส่งสารและผู้รับสารจะสามารถโต้ตอบและสื่อสารกันเข้าใจและสิ่งที่ช่วยให้เราเรียนภาษาได้ดียิ่งขึ้นนั้นต้องมีกลวิธีในการเรียนภาษา  10  องค์ประกอบด้วยกัน  ได้แก่  1.  ศึกษา  2.  ฝึกฝน  3. สังเกต  4.  จดจำ  5.  เลียนแบบ  6.  ดัดแปลง  7.  วิเคราะห์  8.  ค้นคว้า  9.  ใช้งาน  10.  ปรับปรุง  หากผู้เรียนภาษาสามารถปฏิบัติตามกลวิธีในการเรียนภาษาได้ก็จะเป็นการพัฒนาตนเองในการเรียนภาษาได้ดียิ่งขึ้น                                                          


                

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Learning Log week 1


Learning  Log week  1

                สิ่งที่ได้เรียนรู้ในห้องเรียนเกี่ยวกับการเรียนรู้อย่างเข้าใจว่าการเรียนให้ได้ประสิทธิภาพนั้นต้องเกิดจากความเข้าใจทั้งตัวผู้เรียนและผู้สอนและหลักการแปลในเบื้องต้น  และดิฉันได้ค้นคว้าเพิ่มเติมจากอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับการเรียนรู้อย่างเข้าใจเพื่อต่อยอดและทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องนั้นมากขึ้น
                การเรียนรู้อย่างเข้าใจ  คือ  I+1  =  Comprehensible  Input

I=             Input          Process        Product       Outcome   (ความพึงพอใจในสิ่งที่ผลิตออกมา)
                Input =  Background  Knowledge(student)
1=           Teachers  สิ่งที่ครูจะนำมาสอนให้กับผู้เรียนจะต้องมีความยากเป็น 1 จากสิ่งที่ผู้เรียนเคยเรียนรู้มาก่อน
Comprehensible  Input =  ความเข้าใจของผู้เรียนในสิ่งที่ได้เรียนรู้
ความเข้าใจของดิฉัน คือ ครูจะต้องรู้ว่าผู้เรียนมีพื้นฐานความรู้มากน้อยแค่ไหน  เพระครูจะสามารถจัดการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับผู้เรียนให้เกิดความเข้าใจมากที่สุด
                หลักในการแปล คือ สั้นกะทัดรัด  ใจความครบถ้วนสมบูรณ์ผู้แปลจะต้องเป็นผู้รู้ภาษาอย่างดี  และมีความรู้ความสามารถในเรื่องการแปล เช่น
He  lived  in  Nakhon  Si  Thammarat  for  a  year.
He  has  lived  in  Nakhon  Si  Thammarat  for  a  year.
สองประโยคข้างต้นมีรูปประโยคที่คล้ายกันแต่สิ่งที่บอกความแตกต่างของสองประโยคนี้คือ  tense  จะเป็นสิ่งที่บอกให้เรารู้ว่าเหตุการณ์นั้น ยังเกิดขึ้นอยู่  หรือจบลงไปแล้วหรือกำลังทำอยู่  เป็นต้น 
                การเรียนรู้อย่างเข้าใจที่ดิฉันได้ไปค้นคว้าเพิ่มเติม  I+1=Comprehensible  Input 
I+1  คือ  พัฒนาจากสิ่งที่มีอยู่แล้วจากการเรียนรู้สิ่งต่างๆเพื่อช่วยให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น  เพราะบางครั้งเด็กต้องใช้ความรู้  (I)  เพื่อที่จะเรียนรู้เรื่องต่อไป  (I+1)  เป็นการต่อยอดความรู้  สิ่งที่จะช่วยให้เข้าใจมากที่สุด  คือ  บริบท  แหล่งข้อมูลที่สามารถป้อนให้เข้าใจได้  (comprehensible  Input)  มี  3  แหล่ง  1.  การพูดของชาวต่างชาติ  2.  คำพูดของครู  3.  คำพูดของคนใช้ภาษาสากล  ทั้ง  3  แหล่งเป็นการเน้นการสื่อสารที่ข้อความ  ครูคือผู้ที่สามารถพูดให้นักเรียนเข้าใจไม่ใช่เน้นแต่โครงสร้างแต่ควรจะให้ความสำคัญกับการสื่อสารในสถานการณ์ที่เป็นธรรมชาติให้ผู้เรียนได้เข้าใจง่ายขึ้น

                ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นพอจะสรุปได้ว่า  I+1=comprehensible  Input  คือการต่อยอดความรู้ในสิ่งที่ผู้เรียนเคยได้เรียนรู้มาโดยอาศัยแหล่งข้อมูลที่จะป้อนให้กับผู้เรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจ การเรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติจะช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ที่ดีและง่ายขึ้น  และเรื่องการแปล  tense  เป็นสิ่งที่สำคัญมากในการแปล  เพราะ  tense  จะเป็นตัวบอกว่าแต่ละเหตุการณ์นั้นเป็นอย่างไร  และเมื่อผู้แปลเข้าใจ  ก็จะสามารถแปลเรื่องได้ดีและผู้อื่นสามารถเข้าใจได้

             จงแปลประโยคต่อไปนี้เป็นภาษาไทย

1.   First-year  students  have  studied  English  for  at  least  10  years.
                 นักศึกษาปีหนึ่งเรียนภาษาอังกฤษอย่างน้อย  10  ปี
2.   An  accident  took   place  when  the  plane  was  flying  above  a  paddy  field.
                 อุบัติเหตุเกิดขึ้นเมื่อเครื่องบินกำลังบินอยู่เหนือทุ่งนา
3.   The  truck  driver  was  unidentified.
                 คนขับรถบรรทุกไม่แสดงตัวว่าเป็นใคร
4.   Tomorrow  I’ll  go  out  of  town.
                 พรุ่งนี้ฉันจะออกจากเมืองนี้
5.   Yesterday  it  rained  hard.
                 เมื่อวานฝนตกหนัก
6.   We  invited  him  to  give  a  lecture  over  here.
                 เราเขิญเขามาบรรยายที่นี่
7.   I  used  to  study  at  a  boarding  school.
                 ฉันเคยเรียนที่ต่างประเทศ
8.   Have  you  eaten?
                 คุณกินอะไรยัง?
9.   I’m  still  doing  my  homework.
                 ฉันยังคงทำการบ้าน
        10.      He  always  teases  me.
                    เขาหยอกล้อฉันเสมอ
        11.    I  always  get  wrong  answers.
                    ฉันได้รับคำตอบที่ผิดเสมอ
        12.     I  was  about  to  ask  you  about  that.
                   ฉันจะถามคุณเกี่ยวกับเรื่องนั้นว่า...

วันพฤหัสบดีที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2558

ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่ผลต่อการแปล


ความแตกต่างทางโครงสร้างของภาษาไทยกับภาษาอังกฤษที่ผลต่อการแปล

โครงสร้างเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับการเรียนรู้ภาษา  เราพูดเป็นประโยคที่มีใจความสมบูรณ์และสื่อสารกันรู้เรื่องเพราะเรารู้และเข้าใจโครงสร้างของภาษา  ในการใช้ภาษาใดก็ตาม  ถ้าเราไม่รู้หรือเข้าใจโครงสร้างของภาษานั้น  จะล้มเหลวในการสื่อสาร  คือ ฟังหรืออ่านไม่เข้าใจ  และพูดหรือเขียนให้ผู้อื่นเข้าใจไม่ได้
                ในการแปล  ผู้แปลมักนึกถึงคำศัพท์ เป็นปัญหาหนึ่งในการแปล   แต่ปัญหาที่สำคัญกว่านั้นคือ  ปัญหาทางโครงสร้าง  นักแปลคนใดก็ตามแม้จะรู้คำศัพท์แต่หากไม่เข้าใจความสำพันธ์ของศัพท์เหล่านั้นก็มีโอกาสล้มเหลวได้  เพราะอาจตีความผิดหรือถ่ายทอดเป็นภาษาเป้าหมายที่ผิดได้
1.       ชนิดของคำและประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญ
ชนิดของคำ  (Parts of speech)  เป็นสิ่งสำคัญในโครงสร้าง  เพราะเมื่อสร้างประโยคต้องนำคำมาเรียงเพื่อให้เกิดความหมายที่ต้องการประโยคจะถูกไวยากรณ์เมื่อใช้ชนิดคำตรงกับหน้าที่ทางไวยากรณ์
ประเภททางไวยากรณ์  (Grammatical category)  หมายถึงลักษณะสำคัญทางไวยากรณ์ของภาษาใดภาษาหนึ่งซึ่งมีสัมพันธ์กับชนิดของคำ
1.1    คำนาม
เมื่อเปรียบเทียบคำนามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ พบว่าประเภททางไวยากรณ์ที่เป็นลักษณะสำคัญหรือลักษณะที่มีตัวบ่งชี้  ในภาษาอังกฤษแต่เป็นลักษณะที่ไม่สำคัญหรือไม่มีตัวบ่งชี้ในภาษาไทย  ได้แก่
1.1.1          บุรุษ (person)
บุรุษ  เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกว่าคำนามหรือสรรพนามที่นำมาใช้ในประโยคหมายถึง  ผู้พูด  ผู้ที่ถูกพูดด้วย  หรือผู้ที่ถูกพูดถึง  ภาษาอังกฤษแยกรูปสรรพนามตามบุรุษที่ 1 ที่  2  และที่ 3  อย่างชัดเจน  เช่น  I(บุรุษที่ 1)  ,  you(บุรุษที่ 2)  ,he /she(บุรุษที่ 3)  ภาษาไทยแยกไม่เด่นชัด  เพราะบางคำก็ใช้ได้หลายบุรุษ เช่น  เรา(1,2) เขา(1,3)  ตัวเอง(1,2)  นอกจากนั้นภาษาอังกฤษยังมีการเติม –s  ที่ประธานของกริยาที่ เอกพจน์  สำหรับภาษาไทยไม่มีการแสดงความต่างเช่นนี้
1.1.2          พจน์  (number)
พจน์เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งบอกจำนวน  ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้พจน์โดยใช้  a,an  นำหน้าคำนามเอกพจน์เท่านั้น  และแสดงพหูพจน์โดยการเติมหน่วยท้ายศัพท์  -s  แต่ในภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้เช่นนั้น  เพราะภาษาไทยไม่มีการแยกสรรพสิ่งตามนั้น
1.1.3          การก  (case)
การก  คือประเภททางไวยากรณ์ของคำนามเพื่อบ่งชี้ว่าคำนามนั้นเล่นบทบาทอะไร  คือสัมพันธ์กับคำอื่นในประโยคอย่างไร  ภาษาต่างกันมีการแสดงการกด้วยวิธีการต่างกัน  มีการแสดงการกที่คำนาม  แต่จำนวนการกและรูปของการกมักแตกต่างกัน  ในภาษาที่ตายแล้  เช่น  ภาษาละติน  การกเป็นเรื่องที่สำคัญมาก  ไม่มีผู้ใดสามารถแต่งประโยคในภาษานั้นได้ถูกต้องเลยหากไม่เข้าใจเรื่องการก  นั่นคือ  เมื่อเราจะใช้คำนาม 1 คำ  เราต้องคำนึงว่า  คำนามนั้นเป็นผู้กระทำ  ผู้ถูกกระทำ  ผู้เป็นเจ้าของ  หรือสถานที่  การผันคำตามการกต่างๆ เช่น  ในภาษาละติน  คำว่า  เจ้านาย’  ถ้าเป็นประธาน ต้องใช้ dominus  เป็นกรรมตรงใช้  dominum  เป็นกรรมรองใช้  domino  และเป็นเจ้าของใช้  domini  เป็นต้น
ในภาษาอังกฤษ  การกของคำนามมักแสดงโดยการเรียงคำ  แต่การกของในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเติม ‘s  ที่หลังคำนาม  เช่น  teacher’s  boy’s  mother’s  ในภาษาไทยไม่มีการเติมหน่วยคำเพื่อแสดงการกแต่ใช้การเรียงคำ
1.1.4          นามนับได้  กับ  นามนับไม่ได้  ( countable and  uncountable  nouns)
คำนามในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยในเรื่องการแบ่งเป็น  นามนับได้  และนามนับไม่ได้  ผู้พูดภาษาอังกฤษทุกคนแยกความแตกต่างระหว่างคำนาม   เช่น  cat, house,book  กับคำนาม  เช่น  hair, water  ความแตกต่างดังกล่าวนี้แสดงโดยการใช้ตัว a,an  กับคำนามนับได้เอกพจน์  และเติม s ที่นามนับได้พหูพจน์  ส่วนนามนับไม่ได้ไม่ต้องใช้  a,an  และไม่ต้องเติม  s  
ในภาษาไทย คำนาทุกคำนับได้  เพราะเรามีลักษณะนามบอกจำนวนของทุกสิ่ง  และสามารถเลือกใช้ให้เหมาะสมกับคำนามนั้นๆ  ในภาษาอังกฤษ  มีการใช้หน่วยบอกปริมาณกับคำนามที่นับไม่ได้ทำให้เป็นหน่วยเหมือนนับได้  แต่ก็เป็นระบบทั่วไปเหมือนภาษาไทย  เช่น
A  glass  of  water                                     A  cup  of  coffee

1.1.5          ความชี้เฉพาะ  (definiteness)
เป็นประเภททางไวยากรณ์อีกประเภทหนึ่งที่มีความสำคัญในภาษาอังกฤษ  แต่ไม่สำคัญในภาษาไทย  ได้แก่การแยกความแตกต่างระหว่างนามชี้เฉพาะกับนามไม่ชี้เฉพาะ  เครื่องหมายที่จะบ่งชี้ความชี้เฉพาะคือตัวกำหนด  ได้แก่ a,an  ซึ่งบ่งความไม่ชี้เฉพาะ(indefiniteness)  the  (definiteness)  การแยกความแตกต่างระหว่างชี้เฉพาะกับไม่ชีเฉพาะไม่มีในภาษาไทย
1.2    คำกริยา
คำกริยานับได้ว่าเป็นหัวใจของประโยค  เพราะมีประเภททางไวยากรณ์
1.2.1          กาล (tense)
คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องแสดงกาลเสมอว่าเป็นอดีต  หรือไม่ใช่อดีต  ผู้พูดภาษาอังกฤษไม่สามารถใช้คำกริยาโดยปราศจากบ่งชี้กาล  เพราะโลกทัศน์ของพวกเขาแยกความแตกต่างระหว่างเหตุการณ์ในอดีตกับไม่ใช่อดีต
1.2.2          การณ์ลักษณะ (aspect)
การณ์ลักษณะ  หมายถึง  ลักษณะของการกระทำ  หรือเหตุการณ์  เช่นการดำเนินอยู่ของเหตุการณ์  การเสร็จสิ้นของการกระทำ  การเกิดซ้ำของเหตุการณ์  ในภาษาอังกฤษ  การณ์ลักษณะที่สำคัญ  ได้แก่  การณ์ลักษณะต่อเนื่อง  หรือการณ์ลักษณะที่ดำเนินอยู่  (continuous aspect )  และการณ์ลักษณะเสร็จสิ้น  (perfective  aspect)  ในภาษาไทย  เหตุการณ์ที่ต่อเนื่องหรือกำลังดำเนินอยู่แสดงด้วยคำว่า  กำลัง”  หรือ  อยู่”  ส่วนการณ์ลักษณะเสร็จสิ้นแสดงโดยคำว่า แล้ว”    การณ์ลักษณะในภาษาอังกฤษจะผูกติดกับกาลเสมอ  สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งคือ  ในภาษาอังกฤษถ้ามีกริยาหลายตัวกาลกริยาเหล่านั้นต้องสัมพันธ์กันในเรื่องเวลาด้วย  ภาษาอังกฤษถือว่า  เรื่องของเวลาของเหตุการณ์เป็นสิ่งสำคัญมากทุกประโยคที่พูดหรือเขียนจะต้องตัดสินหรือแสดงให้เห็นชัดว่าเกิดขึ้นในช่วงเวลาใด  แต่ภาษาไทยถือว่าเหตุการณ์จะเกิดขึ้นเมื่อใดไม่เป็นสิ่งสำคัญผู้อ่านสามารถตีความได้จากปริบท
1.2.3          มาลา  (mood)
มาลา  เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่ใช้กับคำกริยา  มีหน้าที่แสดงว่าผู้พูดมีทัศนคติต่อเหตุการณ์หรือเรื่องที่พูดอย่างไร  ในภาษาไทยคำกริยาไม่มีการแสดงมาลา  มาลาในภาษาอังกฤษแสดงโดยการเปลี่ยนรูปคำกริยา  หรืออาจแสดงโดยคำช่วยกริยาที่เรียกว่า  modal  auxiliaries  ในภาษาไทย  มาลาแสดงโดยกริยาช่วยหรือคำวิเศษณ์เท่านั้น  ไม่ได้แสดงโดยการเปลี่ยนรูปกริยาคำที่แสดงมาลาในภาษาไทย
1.2.4          วาจก  (voice)
วาจก  เป็นประเภททางไวยากรณ์ที่บ่งชี้ความสัมพันธ์ระหว่างประธานกับการกระทำที่แสดงโดยการกระทำ  ว่าประธานเป็นผู้กระทำ  หรือประธานเป็นผู้ถูกกระทำ   ในภาษาอังกฤษ  ประโยคส่วนใหญ่จะมีกริยาเป็นกรรตุวาจก  แต่ในบางกรณี  กริยาจำเป็นต้องอยู่ในรูปกรรมวาจกเพราะผู้พูดอาจจะไม่ต้องการระบุผู้กระทำ  แต่ต้องการเน้นผู้ถูกกระทำแทน
1.2.5          กริยาแท้กับกริยาไม่แท้( finite  vs.  non-finite )
คำกริยาในภาษาอังกฤษต่างจากภาษาไทยมากในเรื่องแยกกริยาแท้ออกจากกริยาไม่แท้  คือ  ในหนึ่งประโยคเดี่ยวจจะมีกริยาแท้เพียงตัวเดียวเท่านั้น  ซึ่งมีรูปแบบที่เด่นชัดจากการที่ต้องลงเครื่องหมายเพื่อบ่งชี้ประเภททางไวยากรณ์ต่างๆ  ส่วนกริยาอื่นๆในประโยคต้องแสดงรูปให้เห็นชัดว่าไม่ใช่กริยาแท้  ในภาษาไทย  ไม่มีความต่างระหว่างกริยาแท้กับกริยาไม่แท้  คือ  กริยาในประโยคทุกตัวไม่มีการแสดงรูปที่แตกต่างกัน  หรือเครื่องหมายที่ระบุได้ทันทีว่าตัวไหนเป็นกริยาแท้หรือไม่แท้  ในการแปลภาษาอังกฤษเป็นไทย  ผู้แปลอาจจำเป็นต้องขึ้นประโยคใหม่  หมายความว่าทำกริยาไม่แท้ให้เป็นกริยาแท้ของประโยคใหม่

           1.3    ชนิดของคำประเภทอื่น
คำ  Adjective  ในภาษาอังกฤษอาจเป็นปัญหาสำหรับคนไทย  เพราะต้องใช้กับ  verb  to  be  เมื่อทำหน้าที่เป็นภาคแสดงของประโยค  ในภาษาไทยไม่มีโครงสร้างแบบนี้เพราะใช้กริยาทั้งหมด  Adjective  ใช้เพื่อขยายคำนามที่เป็นหลัก  ในภาษาไทยคำขยายอยู่ข้างหลังตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ  คำอีกประเภทที่ไม่ขนานกันระหว่างภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ  ได้แก่คำลงท้าย ครับ  ค่ะ ในภาษาอังกฤาไม่มีชนิดของคำประเภทนี้  ภาษาอังกฤษและภาษาไทยมีความแตกต่างกันเรื่องของชนิดของคำ และประเภททางไวยากรณ์ที่สำคัญหลายประการซึ่งถ้าผู้แปลมีความเข้าใจ  ก็จะช่วยในการแปลนั้นง่ายขึ้น
2.        หน่วยสร้างที่ต่างกันในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
หน่วยสร้าง(construction)  หมายถึงหน่วยทางภาษาที่มีโครงสร้าง  เมื่อเปรียบเทียบหน่วยสร้างในภาษาไทยและภาษาอังกฤษมีหน่วยสร้างที่แตกต่างกัน
2.1    หน่วยสร้างนามวลี  ตัวกำหนด( Determiner)  +  นาม  (อังกฤษ) vs.  นาม (ไทย)
นามวลีในภาษาอังกฤษต้องมีตัวกำหนด  อยู่หน้านามเสมอ  ถ้าคำนั้นเป็นคำนามนับได้เอกพจน์  นอกจากนั้นตัวกำหนดหน้านามเพื่อบ่งบอกความชี้เฉพาะของคำนาม  ในภาษาไทยไม่มีตัวกำหนด  มีแต่คำบ่งชี้  เช่น  นี้  นั้น  โน้น  ซึ่งบ่งบอกความหมายใกล้หรือไกล  และเฉพาะเจาะจง
2.2    หน่วยสร้างนามวลี  ส่วนขยาย + ส่วนหลัก (อังกฤษ)+  ส่วนหลัก +  ส่วนขยาย  (ไทย) 
ในหน่วยสร้างนามวลี  ภาษาอังกฤษวางส่วนขยายไว้หน้าส่วนหลัก  ส่วนภาษาไทยตรงกันข้าม 
                2.3  หน่วยสร้างกรรมวาจก  (passive  construction)
ในภาษาอังกฤษหน่วยสร้างคำกรรมวาจกมีรูปเด่นชัด  และมีแบบเดียว  คือ  ประธาน / ผู้รับการกระทำ + กริยา  ---verb to be + participle + (by +นามวลี /ผู้กระทำ)  แต่ในภาษาไทยหน่วยสร้างกรรมวาจกมีหลายรูปแบบ  กริยาเกี่ยวกับอารมณ์ความรู้สึก  จะมีรูปตรงข้ามในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ  ในภาษาไทยมักเป็นกรรตุวาจก  ส่วนในภาษาอังกฤษเป็นกรรมวาจก
2.4    หน่วยสร้างประโยคเน้น subject  (อังกฤษ)  กับประโยคเน้น topic  (ไทย)
ภาษาไทยได้ชื่อว่าเป็นภาษาเน้น  ตรงข้ามกับภาษาอังกฤษ
2.5   หน่วยสร้างกริยาเรียงในภาษาไทย  (serial verb construction)
ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ประกอบด้วยกริยาตั้งแต่สองคำขึ้นไปเรียงต่อกันโดยไม่มีอะไรคั่นกลางยกเว้นกรรมของกริยาที่มาข้างหน้า  เช่น เดิน-ไป-ดูหนัง  เมื่อแปลประโยคเช่นนี้เป็นภาษาอังกฤษจะสังเกตได้ว่าโครงสร้างจะเป็นอย่างอื่นที่ไม่ใช่กริยาเรียง
3.                   3.สรุป
3.1  เรื่องชนิดของคำ
ภาษาที่มีชนิดของคำบางประเภทแต่อีกภาษาไม่มี  ภาษาไทยมีชนิดของคำทุกประเภทเหมือนภาษาอังกฤษ  ยกเว้นคุณศัพท์  และมีชนิดที่ไม่มีในภาษาอังกฤษ  ได้แก่ ลักษณะนาม  และคำลงท้าย
3.2  เรื่องประเภททางไวยากรณ์ 
สำหรับคำนามภาษาไทยไม่มีกาบ่งชี้  บุรุษ  พจน์  การก  กริยา-กริยาไม่แท้  ชี้เฉพาะ  แต่ภาษาอังกฤษไม่มีการบ่งชี้ที่ชัดเจน
สำหรับคำกริยา  ภาษาไทยไม่มีการบ่งชี้  กาล  มาลา  วาจก  กริยาแท้-กริยาไม่แท้  แต่ภาษาอังกฤษมีการบ่งชี้ที่ชัดเจน
3.3  เรื่องหน่วยสร้างหรือรูปประโยค
นามวลี ในภาษาอังกฤษไม่มีตัวกำหนดแบบบังคับ  แต่ในภาษาไทยตัวกำหนดจะมีหรือไม่มีก็ได้
                การวางส่วนขยายในนามวลี  มีความแตกต่างอย่างตรงกันข้ามในภาษาไทยกับภาษาอังกฤษ
                หน่วยสร้างกรรมวาจก  ภาษาอังกฤษมีรูปแบบชัดเจน  แต่ภาษาไทยมีหลายรูปแบบ  และไม่จำเป็นที่จะต้องแปลหน่วยสร้างกรรมวาจกภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยเสมอไป
                ประโยคเน้นประธานกับประโยคเน้นเรื่อง  ประโยคในภาษาอังกฤษต้องมีประธานเสมอ  แต่ประโยคในภาษาอังกฤษไม่จำเป็นต้องมีประธาน  และประโยคส่วนมากมักขึ้นต้นด้วยเรื่อง
                หน่วยสร้างกริยาเรียง  มีในภาษาไทยแต่ไม่มีในภาษาอังกฤษ