Learning
log
(นอกห้องเรียน
เช้า)
ในวันที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2558
ได้เข้าร่วมอบรมเป็นวันที่สอง
ซึ่งการอบรมในช่วงเช้าของวันนี้ได้รับการอบรมจากท่านวิทยากร ผศ.ดร. ศิตา
เยี่ยมขันติถาวร
อีกวันหนึ่งสำหรับกิจกรรมการอบรมวันนี้ท่านวิทยากรได้บรรยายเกี่ยวกับ
วิธีการสอนภาษาอังกฤษในศตวรรษที่ 21
ซึ่งมีวิธีการสอนมากมายที่ท่านวิทยากรได้กล่าวถึงตั้งแต่การเรียนภาษาในอดีต
ว่าในอดีตจะเป็นการเรียนภาษาแบบท่องจำ วิธีการสอนแบบต่างๆมีดังนี้
วิธีสอนแบบไวยากรณ์และการแปล (The
Grammar – Translation Method ) เป็นการสอนที่เน้นแต่การเรียนไวยากรณ์และการแปล
เพื่อให้ผู้เรียนสามารถอ่านตำราได้ และมีการใช้วิธีสอนแบบนี้ในการสอนภาษาอังกฤษโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนอ่านได้เข้าใจ
วิธีสอนแบบถัดไปคือ วิธีสอนแบบตรง
มีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เรียนใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารได้ ถัดไปคือ วิธีสอนแบบฟัง- พูด (The
Audio – Lingual Method) การสอนภาษาควรเริ่มจากการฟัง พูด
ซึ่งเป็นพื้นฐานไปสู่การอ่านและการเขียน
จึงมีการเรียนรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษาซึ่งเริ่มต้นด้วยการพูด
ถัดไปวิธีสอนแบบเงียบ (The silent Way) วิธีสอนแบบนี้เป็นการเน้นความรู้ความเข้าใจเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ผู้เรียนเป็นผู้ที่มีบทบาทส่วนผู้สอนเป็นผู้ช่วยเหลือให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากสิ่งแวดล้อม
ถัดไปวิธีสอนแนวธรรมชาติ ( The Natural Approach ) เป็นการพัฒนาทักษะทางภาษาเพื่อการสื่อสารกับเจ้าของภาษาโดยที่ยังคงให้ความสำคัญของความถูกต้องในการใช้ไวยากรณ์
ถัดไป วิธีการสอนแบบชักชวน ( Suggestopedia )
เพื่อให้ผู้เรียนผ่อนคลายและให้ผู้เรียนพูดเมื่อผู้เรียนพร้อม
ถัดไปคือวิธีสอนแบบตอบสนองด้วยท่าทาง
มุ่งพัฒนาความเข้าใจในการฟังในช่วงต้นของการเรียนผู้เรียนแสดงท่าทางใช้คำสั่งเป็นหลักในการสอน
ถัดไปการเรียนรู้แบบร่วมมือ ( Cooperative Learning)
ให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบกลุ่มย่อยๆ ถัดไปการเรียนรู้แบบเน้นภาระงาน (Task
– Based Learning) การเรียนรู้จากการทำโครงงาน (Project – Based Learning )การทำงานด้วยตนเอง
แนวการสอนแบบกำหนดสถานการณ์ แนวการสอนภาษาเพื่อการสื่อสาร
เริ่มจากการฟังไปสู่การพูด การอ่านจับใจความสำคัญ ทำความเข้าใจ จดจำ
แล้วนำสิ่งที่เรียนรู้ไปใช้ ถัดไปการสอนที่เน้นสาระการเรียนรู้
และสุดท้ายคือการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
เรื่องถัดไปที่ได้รับการฟังการบรรยายเป็นเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาในศตวรรษที่
21 สำหรับการจัดการเรียนการสอนในห้องเรียน
ซึ่งในการเรียนการสอนในยุคนี้จะต้องเป็นการเรียนการสอนแบบ ห้องเรียนกลับทางคือแต่เดิมครูผู้สอนให้การบ้านนักเรียนไปทำที่บ้านและในทางกลับกันคือ
นำการบ้านนั้นมาทำในชั้นเรียนเพราะบางครั้งเวลาที่นักเรียนทำการบ้านและเกิดข้อติดขัดและเวลานั้นเป็นเวลาที่นักเรียนต้องการครูเพื่อมาช่วยชี้แจง
ส่วนเนื้อหาในการบรรยายนั้นเป็นสิ่งที่ผู้เรียนสามารถที่จะค้นหาและศีกษาด้วยตนเองได้
การศึกษาด้วยวิธีนี้จะช่วยให้นักเรียนเรียนรู้ได้เร็วขึ้น
เพื่อเหลือเวลาให้กับเด็กโดยเฉพาะทักษะการคิดวิเคราะห์
ซึ่งจากการอบรมในช่วงเช้าของวันนี้ได้รับความรู้มากมายเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนการสอนในแบบต่างๆแต่ในชั้นเรียนของเราส่วนใหญ่การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านยังเห็นได้น้อยเพราะส่วนใหญ่แล้วเราจะคุ้นเคยกับการเรียนการสอนแบบที่ครูเป็นผู้บรรยายเนื้อหาและสั่งงานให้นักเรียนไปทำแต่ไม่ถามถึงปัญหาในการทำงานของผู้เรียนว่าสามารถที่จะทำได้หรือเปล่าเพราะเหตุนี้การเรียนการสอนของคนไทยจึงยังด้อยและมีการพัฒนาที่ช้ากว่าประเทศอื่นๆ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น